กระทรวงสาธารณสุข (ประเทศไทย)
กระทรวงสาธารณสุขแห่งราชอาณาจักรไทย (อังกฤษ: Ministry of Public Health of Thailand) เป็นหน่วยงานราชการไทย ประเภทกระทรวง มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการสร้างเสริมสุขภาพอนามัย การป้องกัน ควบคุม และรักษาโรคภัย การฟื้นฟูสมรรถภาพของประชาชน และราชการอื่นตามที่มีกฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกระทรวงสาธารณสุขหรือส่วนราชการที่สังกัดกระทรวงสาธารณสุขปัจจุบันตั้งอยู่ที่ ถนนติวานนท์ ตำบลตลาดขวัญ อำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี
สำนัก
ภาพรวม
งบประมาณ 86,904.5 ล้านบาท (พ.ศ. 2554)[1]
รัฐมนตรีว่าการ
วิทยา บุรณศิริ, รัฐมนตรี
สุรวิทย์ คนสมบูรณ์, รัฐมนตรีช่วย
ผู้บริหาร ไพจิตร์ วราชิต, ปลัด
อภิชัย มงคล, รองปลัด
นิทัศน์ รายยวา, รองปลัด
โสภณ เมฆธน, รองปลัด
สมชัย นิจพานิช, รองปลัด
วุฒิไกร มุ่งหมาย, สาธารณสุขนิเทศก์
เว็บไซต์ MOPH.go.th
ประวัติ
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงตั้งกรมการพยาบาลขึ้นเมื่อวันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2431 เพื่อให้ควบคุมดูแลกิจการศิริราชพยาบาลสืบแทนคณะกรรมการสร้างโรงพยาบาลวังหน้า กรมพยาบาลมีหน้าที่จัดการศึกษาวิชาแพทย์ ควบคุมโรงพยาบาลอื่น ๆ และจัดการปลูกฝีเป็นทานแก่ประชาชน
พ.ศ. 2432 กรมพยาบาลก็ย้ายมาสังกัดในกระทรวงธรรมการ เริ่มมีแพทย์ประจำเมืองขึ้นในบางแห่ง มีการนำยาตำราหลวงออกจำหน่วยในราคาถูกและตั้งกองแพทย์ไปป้องกันโรคระบาด
พ.ศ. 2448 (ร.ศ. 124) พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระปิยมหาราช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ยุบกรมพยาบาลและตำแหน่งอธิบดีกรมพยาบาล อธิบดีกรมพยาบาลคนสุดท้ายคือ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นวิวิธวรรณปรีชา และให้โรงพยาบาลอื่นที่สังกัดกรมพยาบาลไปขึ้นอยู่ในกระทรวงนครบาล ยกเว้นโรงศิริราชพยาบาล คงให้เป็นสาขาของโรงเรียนราชแพทยาลัย ส่วนกองโอสถศาลารัฐบาล กองทำพันธุ์หนองฝี กองแพทย์ป้องกันโรคและแพทย์ประจำเมือง ยังคงสังกัดอยู่ในกระทรวงธรรมการตามเดิม
พ.ศ. 2451 กระทรวงมหาดไทยได้ขอโอนกองโอสถศาลารัฐบาล กองทำพันธุ์หนองฝี กองแพทย์ป้องกันโรค และแพทย์ประจำเมืองมาอยู่ในบังคับบัญชาของกระทรวงมหาดไทย ซึ่งในชั้นแรกให้สังกัดอยู่ในกรมพลำภังค์
ต่อมากระทรวงมหาดไทยมีความประสงค์จะปรับปรุง กิจการของกรมพยาบาลให้กว้างขวางและก้าวหน้ายิ่งขึ้น จึงนำความกราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ขอพระบรมราชานุญาตเปลี่ยนชื่อกรมพยาบาลเป็นกรมประชาภิบาล และได้รับพระบรมราชานุญาตตามสำเนาพระราชหัตถเลขา ลงวันที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2459
ในวันที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2461 ได้ประกาศตั้งกรมสาธารณสุข โดยเปลี่ยนจากกรมประชาภิบาล และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นชัยนาทนเรนทร อธิบดีกรมมหาวิทยาลัยเป็นอธิบดีกรมสาธารณสุข กรมสาธารณสุขอยู่ในสังกัดกระทรวงมหาดไทย เรื่อยมาจนถึง พ.ศ. 2485 จึงได้มีการสถาปนากรมสาธารณสุขขึ้นเป็นกระทรวงสาธารณสุข
ตรากระทรวงสาธารณสุข
หน้าที่และความรับผิดชอบ
บทบาท หน้าที่ และความรับผิดชอบของฝ่ายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง
1. ผู้ดูแลเด็ก หรือพี่เลี้ยงเด็ก
เป็นผู้ที่อยู่ใกล้ชิดเด็กมากที่สุด ในช่วงที่เด็กอยู่ศูนย์ และเป็นผู้มีอิทธิพลต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพและส่งเสริมพัฒนาการด้านต่าง ๆ ของเด็กมากที่สุด ผู้ดูแลเด็กจึงควรรับรู้นโยบาย เข้าใจแนวทางการพัฒนาศูนย์เด็กเล็กน่าอยู่ และได้รับการ ฝึกอบรม เพื่อเพิ่มพูนความรู้และทักษะต่าง ๆ ที่จำเป็นอย่างสม่ำเสมอ นอกจากนี้ ผู้ดูแลเด็กยังควรได้รับบริการส่งเสริมสุขภาพให้มีสุขภาพดีอยู่เสมอด้วย เพื่อเป็นแบบอย่างด้านสุขภาพสำหรับเด็ก
2. ผู้บริหารศูนย์เด็กเล็ก หรือผู้ประกอบการศูนย์เด็กเล็ก
เป็นบุคคลที่มีความสำคัญในการประสานงานกับบุคคล และหน่วยงานต่าง ๆ ที่จะเข้ามาสนับสนุน หรือที่ต้องการขอรับการสนับสนุน และที่สำคัญต้องบริหารจัดการบุคลากร งบประมาณ สถานที่ที่มีอยู่ให้สามารถพัฒนาเป็นศูนย์เด็กเล็กน่าอยู่ และได้มาตรฐาน
3. ผู้ปกครองเด็ก
เป็นบุคคลสำคัญที่สามารถร่วมดูแลช่วยการดำเนินงาน และกิจกรรมต่าง ๆ ของศูนย์ โดยอาจเข้ามาเป็นกรรมการ วิทยากร หรืออาสาสมัครช่วยดูแลเด็ก ซึ่งจะทำให้ผู้ปกครองเข้าใจปัญหาและความต้องการของศูนย์เด็กเล็กจะได้ให้การสนับสนุนได้ ความสัมพันธ์และการสื่อสารที่ดีระหว่างบุคลากรของศูนย์เด็กเล็กกับผู้ปกครอง เป็นปัจจัยสำคัญของความสำเร็จของการดำเนินงาน
4. ชุมชนโดยรอบศูนย์เด็กเล็ก
นอกจากผู้ปกครองเด็กแล้ว ในชุมชนยังมีบุคคลที่แม้ไม่ได้มีลูกหลานอยู่ในศูนย์เด็กเล็ก แต่ก็มีศักยภาพที่จะช่วยสนับสนุนการพัฒนาศูนย์เด็กเล็กอีกมาก เช่น ครู กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน หลวงพ่อที่วัด เถ้าแก่ ร้านค้า หรือมูลนิธิ ชมรมต่าง ๆ เป็นต้น บุคคลเหล่านี้ในชุมชนสามารถช่วยสนับสนุนแรงความคิด แรงกาย และทุนทรัพย์ แก่ศูนย์เด็กเล็กได้ หากได้รับรู้และเข้าใจการดำเนินงานของศูนย์เด็กเล็ก
5. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ปัจจุบันมีบทบาทสำคัญยิ่งในการพัฒนาศูนย์เด็กเล็ก เนื่องจากมีหน้าที่รับผิดชอบโดยตรง สามารถจัดสรรงบประมาณสนับสนุน บางแห่งมีเจ้าหน้าที่ที่มีความรู้ด้านต่าง ๆ ที่สามารถให้คำแนะนำแก่ผู้บริหารศูนย์เด็กเล็กได้ นอกจากนี้ ยังเป็นหน่วยงานที่สามารถเป็นแกนนำในการระดมความร่วมมือต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี
6. องค์กรส่วนภูมิภาค
เจ้าหน้าที่สาธารณสุขจากศูนย์อนามัยและสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด มีบทบาทสำคัญในการไปช่วยกระตุ้นผู้เกี่ยวข้อง เช่น เทศบาล อบต. และผู้บริหารศูนย์เด็กเล็กให้เห็นความสำคัญ และสมัครเข้าร่วมโครงการ และเจ้าหน้าที่จากศูนย์อนามัยและสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด ยังมีศักยภาพในการให้ความรู้และความเข้าใจในแนวทางการดำเนินงานและวิธีการต่าง ๆ ตลอดจนให้คำแนะนำ ปรึกษา ด้านวิชาการ ติดตาม ประเมินผล และการประกันคุณภาพ
7. องค์กรส่วนกลาง
ผู้รับผิดชอบในส่วนกลาง ทั้งจากสำนักอนามัยสิ่งแวดล้อม สำนักส่งเสริมสุขภาพ กองวิชาการต่าง ๆ ในกรมอนามัย ตลอดถึงหน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น กรมสุขภาพจิต กรมควบคุมโรค มีบทบาทหลักในการสนับสนุนด้านวิชาการและเทคโนโลยีต่าง ๆ เช่น การให้คำปรึกษาทางวิชาการ เกณฑ์มาตรฐาน และการประเมินผล ประสานนโยบายกับหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น
หน่วยงานในสังกัด
ตาม พ.ร.บ. ปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 ประกาศให้กระทรวงสาธารณสุข มีส่วนราชการดังต่อไปนี้
ส่วนราชการ
- สำนักงานรัฐมนตรี
- สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข
- กรมการแพทย์
- กรมควบคุมโรค
- กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
- กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
- กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ
- กรมสุขภาพจิต
- กรมอนามัย
- สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา
องค์กรที่มิใช่ส่วนราชการ
- สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข
- สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
- สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ
รัฐวิสาหกิจ
- องค์การเภสัชกรรม
องค์การมหาชน
- โรงพยาบาลบ้านแพ้ว (องค์การมหาชน)
- สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์การมหาชน)
อ้างอิง
คำปราศรัย เนื่องในวันคล้ายวันสถาปนากระทรวงสาธารณสุข 27 พฤศจิกายน 2554 โดยนายวิทยา บุรณศิริ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข
อ้างอิง http://www.youtube.com/watch?v=0oTvwR6a6Ao
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น