วันพฤหัสบดีที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2555

การเมืองการปกครองและรัฐบาล



การเมืองการปกครองและรัฐบาล


          เดิมประเทศไทยมีการปกครองแบบระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ตั้งแต่สมัยอาณาจักรอยุธยาเป็นต้นมา จนกระทั่งมีการปกครองในลักษณะรวมอำนาจเข้าสู่ศูนย์กลางแบบเด็ดขาดตั้งแต่รัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว[47] ครั้นวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 คณะราษฎรได้ปฏิวัติในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว แล้วเปลี่ยนแปลงการปกครองมาเป็นแบบในปัจจุบัน
          ปัจจุบัน ประเทศไทยมีรูปแบบรัฐเป็นราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ และใช้การปกครองระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา หรือที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยเรียกรวมกันว่า ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข รัฐธรรรมนูญฉบับปัจจุบัน คือ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ซึ่งเป็นฉบับที่ 18 อันกำหนดรูปแบบองค์กรบริหารอำนาจทั้งสามส่วนดังนี้

  •  อำนาจนิติบัญญัติ มีรัฐสภาในระบบสองสภา อันประกอบด้วยสภาผู้แทนราษฎร และวุฒิสภา มีสมาชิกรวมกันทั้งสิ้น 630 คน เป็นองค์กรบริหารอำนาจ มีประธานรัฐสภาเป็นประมุขแห่งอำนาจ
  • สภาผู้แทนราษฎรประกอบด้วยผู้แทนราษฎรจำนวน 500 คน มาจากการเลือกตั้งแบบแบ่งเขตจำนวน 375 คน และมาจากการเลือกตั้งแบบสัดส่วน 125 คน อยู่ในตำแหน่งคราวละ 4 ปี
  • วุฒิสภาประกอบด้วยสมาชิกจำนวน 150 คน มาจากการเลือกตั้งจังหวัดละ 1 คน (รวมกรุงเทพมหานคร) และมาจากการสรรหา 73 คน โดยมีคณะกรรมการสรรหาสมาชิกวุฒิสภา 7 คน อยู่ในตำแหน่งคราวละ 6 ปี และไม่สามารถเป็นสมาชิกวุฒิสภาติดต่อกันเกิน 1 วาระ
  • อำนาจบริหาร มีนายกรัฐมนตรี ซึ่งมาจากการแต่งตั้งโดยพระมหากษัตริย์ ตามคำกราบบังคมทูลของประธานรัฐสภาและคณะรัฐมนตรี ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งตามคำกราบบังคมทูลของนายกรัฐมนตรี เป็นองค์กรบริหารอำนาจ นายกรัฐมนตรีเป็นประมุขแห่งอำนาจ
  • นายกรัฐมนตรีดำรงตำแหน่งคราวละ 4 ปี ตามสภาผู้แทนราษฎร และไม่สามารถดำรงตำแหน่งติดต่อกันได้เกิน 8 ปี นายกรัฐมนตรีมิได้รับการเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชน แต่ได้รับการลงมติเห็นชอบโดยสภาผู้แทนราษฎร
  • คณะรัฐมนตรีประกอบด้วยนายกรัฐมนตรี 1 คน และรัฐมนตรีอื่นอีกไม่เกิน 35 คน
  • อำนาจตุลาการ มีระบบศาล ซึ่งประกอบด้วยศาลยุติธรรม ศาลรัฐธรรมนูญ และศาลปกครอง เป็นองค์กรบริหารอำนาจ มีประธานศาลฎีกา ประธานศาลรัฐธรรมนูญ และประธานศาลปกครองสูงสุด เป็นประมุขในส่วนของตน

การแบ่งเขตการปกครอง

          ประเทศไทยแบ่งเขตการบริหารออกเป็น (1) ราชการส่วนกลาง ได้แก่ กระทรวง, ทบวง และกรม (2) ราชการส่วนภูมิภาค ได้แก่ จังหวัด 76 แห่ง, อำเภอ 878 แห่ง และตำบล 7,255 แห่ง และ (3) ราชการส่วนท้องถิ่น ได้แก่ องค์การบริหารส่วนจังหวัด, เทศบาล, องค์การบริหารส่วนตำบล, กรุงเทพมหานคร และ เมืองพัทยา สำหรับสุขาภิบาลนั้นถูกยกฐานะไปเป็นเทศบาลทั้งหมดในปี พ.ศ. 2542

เมืองใหญ่และจังหวัดใหญ่

 การแบ่งภูมิภาคของประเทศไทยโดยใช้เกณฑ์อย่างเป็นทางการของราชบัณฑิตยสถาน                                                             

รายชื่อจังหวัดซึ่งมีประชากรมากที่สุดในประเทศไทย (31 ธันวาคม พ.ศ. 2553) [56]

อันดับ เขตการปกครอง / จังหวัด จำนวนประชากร
        กรุงเทพมหานคร                 5,701,394
1         นครราชสีมา                         2,582,089
2         อุบลราชธานี                         1,813,088
3         ขอนแก่น                                 1,767,601
4         เชียงใหม่                                 1,640,479
5         บุรีรัมย์                                 1,553,765
6         อุดรธานี                                 1,544,786
7         นครศรีธรรมราช                 1,522,561

รายชื่อเขตปกครองส่วนท้องถิ่นซึ่งมีประชากรมากที่สุดในประเทศไทย ตามทะเบียนราษฎร

อันดับ  เขตการปกครอง / จังหวัด                             จำนวนประชากร                          พื้นที่ (ตร. กม.)
1     กรุงเทพมหานคร                                             5,701,394 (31 ธันวาคม 2553)  1,568.73
2     เทศบาลนครนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี             260,555 (เมษายน 2554)            38.9
3     เทศบาลนครปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี             168,763 (1 มกราคม 2551)         36.04
4     เทศบาลนครนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา162,523 (ตุลาคม 2554)             37.50
5     เทศบาลนครหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา             157,682 (กันยายน 2551)            21.00
6     เทศบาลนครอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี             141,953 (30 มกราคม 2553)       47.70
7     เทศบาลนครเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่     141,361 (มกราคม 2554)             40.216

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น