วันอังคารที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

สถานการณ์การเมืองในประเทศไทยปัจจุบัน

วิเคราะห์สถานการณ์การเมืองในประเทศไทยปัจจุบัน  


    จะกดดันให้เกิดการเมืองใหม่ หรือไม่อย่างไร
           ากสถานการณ์ทางการเมืองไทยในปัจจุบันได้เกิดปรากฏการณ์ต่างๆทางการเมืองมากมาย ที่สำคัญเกิดปรากฏการณ์ที่เรียกว่า การเมืองภาคประชาชน ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของรัฐธรรมนูญปี 2550 กลุ่มคนที่เป็นแกนนำในการแสดงออกซึ่งสิ่งที่เรียกว่า การเมืองภาคประชาชน ก็คือกลุ่มที่เรียกตัวเองว่า พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย  การรวมตัวกันชุมนุมซึ่งเป็นระยะเวลาอันยาวนาน เพื่อเรียกร้องสิ่งต่างๆที่กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยต้องการ  แต่สิ่งสำคัญที่พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยเรียกร้องนั้นคือสิ่งที่เรียกว่า “การเมืองใหม่”   เป็นแนวคิดที่กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ส่งออกมา เพื่อหาทางออกให้กับประเทศไทยไม่ให้กลับไปสู่ “การเมืองน้ำเน่า” การเมืองในปัจจุบันเป็นระบบการเมืองอุบาทว์ เพราะ ถูกผูกขาดโดยนักเลือกตั้งในพื้นที่เขตเลือกตั้งและนายทุน ที่ยังคงเต็มไปด้วยปัญหาการซื้อสิทธิ์ขายเสียง ทุจริตการเลือกตั้ง ใช้อิทธิพลและระบบอุปถัมภ์ในท้องถิ่น เพื่อข่มขู่ประชาชน อีกทั้งยังใช้อำนาจรัฐและอำนาจเงิน เพื่อให้ได้ชัยชนะในการเลือกตั้งทุกวิถีทางบนความอ่อนแอและฉ้อฉลของคณะกรรมการการเลือกตั้งบางคนที่ไม่สามารถทำให้การเลือกตั้งเป็นไปอย่างสุจริตเที่ยงธรรม เมื่อการเลือกตั้งเต็มไปด้วยการทุจริตฉ้อฉลและใช้เงินเป็นตัวตั้ง ทำให้การเมืองไทยกลายเป็น “ธนาธิปไตย” เกิดการตอบแทนบุญคุณต่อนายทุนของพรรคการเมือง รัฐบาลซึ่งประกอบไปด้วยพรรคการเมืองที่ฉ้อฉล จึงมุ่งแต่จะทุจริตคอร์รัปชั่น กระทำผิดต่อกฎหมายบ้านเมือง   ดังนั้น พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย จึงได้เรียกร้องการเมืองใหม่ เพื่อยุติปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้น เมื่อเค้าคิดว่าประชาธิปไตยกำลังเข้าสู่ทางตัน

อรรถาธิบาย

           สาระสำคัญของการเมืองใหม่มีดังต่อไปนี้
1. คณะรัฐมนตรีและสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และวุฒิสมาชิกไม่จำเป็นต้องมาจากการเลือกตั้งโดยตรงเท่านั้น เป้าหมายของการเมืองใหม่ก็คือได้คณะรัฐบาลและสมาชิกสภาที่มีวิสัยทัศน์ มีความรู้ มีความสามารถโดยไม่จำเป็นต้องจำกัดวุฒิการศึกษา มีเจตนาที่จะทำประโยชน์ให้แก่ส่วนรวมอย่างแท้จริง และจะต้องประกอบด้วยบุคคลหลายอาชีพ เพื่อให้สามารถเข้าถึงปัญหาต่างๆของคนไทยทั้งประเทศ ทั้งนี้วิธีในการที่จะได้มาซึ่งคณะรัฐมนตรีและสมาชิกสภารวมทั้งสัดส่วนนั้นจะต้องพิจารณาให้รอบคอบหลังจากล้างการเมืองระบบเลือกตัวแทนเพียงอย่างเดียวได้แล้ว และสัดส่วน ๗๐:๓๐ ที่มีการวิพากษ์วิจารณ์กันอย่างกว้างขวางในขณะนี้ไม่ใช่สาระสำคัญเพราะนั่นเป็นเพียงตัวอย่างที่นำมาแสดงให้ประชาชนเข้าใจว่า คณะรัฐมนตรีและสมาชิกสภาที่มาจากการเลือกตั้งเพียงอย่างเดียวนั้นนอกจากไม่ทำให้เกิดผลดีแล้วยังทำให้เกิดผลเสีย นอกจากนั้นวุฒิสมาชิกที่ได้มาจากการสรรหาทั้ง ๗๔ ท่านก็แสดงให้เห็นแล้วว่าเป็นวุฒิสมาชิกน้ำดีสามารถค้ำจุนการเมืองระบบรัฐสภา

2. เป็นการเมืองภาคประชาชน ประชาชนต้องมีสิทธิเพิ่มมากขึ้น เพื่อให้ตรงกับคำขวัญของประชาธิปไตยว่า “โดยประชาชน สำหรับประชาชน และเพื่อประชาชน”อย่างแท้จริง มิใช่มีส่วนร่วมกับประชาธิปไตยเพียงกากบาทในบัตรเลือกตั้งเท่านั้น ประชาชนจะต้องสามารถตรวจสอบ และคัดค้านการกระทำที่ไม่ถูกต้องของรัฐบาลและสภาได้ทันทีก่อนที่จะทำให้เกิดผลเสียกับประเทศ

3. การเมืองใหม่จะต้องเป็นการเมืองที่มีคุณธรรม จริยธรรม มีธรรมาภิบาล ไม่ใช่การเมืองที่แสวงหาแต่ผลประโยชน์

4.จะต้องใช้ระบบเศรษฐกิจพอเพียงเป็นนโยบายเศรษฐกิจของชาติอย่างเคร่งครัด

5.นโยบายของรัฐบาลจะต้องเป็นนโยบายที่มีประโยชน์และคุ้มค่า ต่อเนื่อง มิใช่เป็นความต้องการของนายกรัฐมนตรีเพียงคนเดียว โดยจะต้องทำตามแผนการพัฒนาชาติที่กำหนดโดยภาครัฐและเอกชนล่วงหน้า นโยบายของรัฐบาลในยุคการเมืองใหม่ จะต้องเป็นนโยบายที่ได้รับการกลั่นกรองจากคณะกรรมการที่ประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิทุกสาขา เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์แก่ประเทศไทยและคนไทยอย่างแท้จริง

6.การเมืองใหม่จะต้องให้ความสำคัญกับทุกๆ กระทรวง ไม่มีการแบ่งเป็นกระทรวงขนาดใหญ่มีงบประมาณมากหรือกระทรวงขนาดเล็กมีงบประมาณน้อย และจะต้องพัฒนาการทำงานร่วมกันให้มีประสิทธิภาพสูงสุด

7.การเมืองใหม่จะต้องไม่มีการแทรกแซงข้าราชการประจำ การโยกย้ายหรือแต่งตั้งข้าราชการในระดับสูง จะต้องมีกฎเกณฑ์แน่นอนที่สามารถเปิดเผยต่อสาธารณะ โดยใช้ระบบคณะกรรมการมากกว่าให้อำนาจแก่รัฐมนตรีเพียงผู้เดียว

8.การเมืองใหม่จะไม่มีการแทรกแซงอำนาจการบริหารรัฐวิสาหกิจด้วยการส่งนักการเมืองเข้าไปเป็นคณะกรรรมการบริหาร

9.การเมืองใหม่จะต้องยุติการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ และต้องนำรัฐวิสาหกิจที่แปรรูปไปแล้วกลับมาเป็นของประชาชนทั้งชาติเหมือนเดิม เพราะผลประโยชน์ของประเทศไทยจะต้องตกเป็นของคนไทยทุกคน

10.การเมืองใหม่จะต้องยุติการแปรรูปมหาวิทยาลัยของรัฐ แต่จะต้องใช้วิธีปรับปรุงระบบการบริหารเพื่อลดงบประมาณแผ่นดินแทน เช่นลดจำนวนคณะที่สอนซ้ำซ้อนกัน ตั้งเป็นศูนย์กลางแต่ละวิชาเพื่อลดค่าใช้จ่าย ทั้งนี้จะต้องมีเป้าหมายว่ามหาวิทยาลัยเป็นของลูกหลานไทยทุกคน ต้องสามารถเล่าเรียนโดยเสียค่าใช้จ่ายต่ำสุด รัฐมีหน้าที่ต้องพัฒนาคุณภาพทรัพยากรมนุษย์ด้วยการศึกษา การศึกษามิใช่การค้าดังนั้นจึงไม่ใช่สถานที่แสวงหาผลประโยชน์ของอาจารย์และสภามหาวิทยาลัย

ทฤษฎี

-บทบาทรัฐ (Role of the State) ของ Machiavelli รัฐมีอำนาจอธิปไตยสูงสุดที่จะจัดการกับปัญหาใด ๆ ทั้งในประเทศ และระหว่างประเทศ เพื่อปกป้องผลประโยชน์ของชาติ และประชาชน การที่เปลี่ยนระบอบการเมืองเป็นการเมืองใหม่นั้น สิ่งสำคัญที่จะต้องคำนึงถึงเป็นอันดับแรกก็คือ ผลประโยชน์ของประเทศชาติและประชาชนเป็นสำคัญ ถ้าเปลี่ยนแล้วจะต้องดีขึ้นกว่ารูปแบบเดิม

-ประชาธิปไตยที่ประกอบด้วยหลักการข้อหนึ่งคือ ความเสมอภาค ความมีเสรีภาพ นั้นแสดงถึงรัฐต้องเปิดโอกาสให้ประชาชนแสดงบทบาท  และความต้องการของตนได้อย่างเต็มที่โดยไม่มีการกัดกัน

 วิเคราะห์

จากสถานการณ์การเมืองในประเทศไทยปัจจุบัน จะกดดันให้เกิดการเมืองใหม่หรือไม่

ารเมืองใหม่ ( new politic ) ที่เราพูดกันอย่างกว้างขวางในขณะนี้ ไม่ใช่สิ่งใหม่ที่เราพึ่งค้นพบแต่อย่างใด หากแต่มีนักวิชาการได้ศึกษามานานแล้วแต่ไม่ได้รับความสนใจในวงกว้างสักเท่าไรในกระแประชาธิปไตยแบบตัวแทนเพราะเป็นแนวคิดกระแสรองแต่การที่วาทกรรม " การเมืองใหม่ " ได้รับความสนใจกันอย่างกว้างขวางในระยะหลังๆ เพราะประชาธิปไตยแบบตัวแทน(Representative democracy)ได้อ่อนแรงลงอย่างมาก การเมืองใหม่ ทำให้เราเห็นว่า การเมืองที่เราดำรงอยู่ในปัจจุบันมันเป็นของเก่า และของเก่ามันก็ไร้ประโยชน์ แต่ตรงนี้ยังไม่ใช่ประเด็นสำคัญที่สุด หากแต่สาระกลับดำรงอยู่ที่ วาทกรรมที่เราใช้ คือ การเมืองใหม่ (new politic ) เพราะเกิดคำถามขึ้นมากมาย โดยเฉพาะการพัฒนาประชาธิปไตยของไทยให้รอดพ้นจากวงจรอุบาทว์ของตัวแทนที่โสมมได้หรือไม่ ปัญหาต่างๆที่กำลังประทุขึ้นมามากมายจากระบอบการปกครองในรูปแบบประชาธิปไตยที่ ประชาชนเป็นผู้เลือกตั้งตัวแทนของตนเพื่อเข้าไปทำหน้าที่แทนตนในการจัดสรรทรัพยากรอันมีอยู่อย่างจำกัดให้เพียงพอกับความต้องการของประชาชนในประเทศชาติแต่การจัดสรรผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นเกิดแค่กับเพียงคนกลุ่มเดียวเท่านั้นที่มีอำนาจทางการเมือง เกิดการทุจริตฉ้อราษบังหลวง นำมาซึ่งการเรียกร้องการเมืองใหม่ ตามหลักการดังที่ได้กล่าวมาแล้ว การจะเกิดขึ้นของการเมืองใหม่ในประเทศไทยคงเป็นไปได้ยาก ตามความคิดของข้าพเจ้า เพราะระบอบการปกครองของไทยในรูปแบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขในลักษณะการเมืองแบบผ่านผู้แทนมาช้านาน ถึงแม้จะเกิดปัญหาขึ้นจากการซื้อสิทธิ์ขายเสียง แต่จะไปด่าหรือไปว่าใครได้เพราะว่าคนที่ทำหน้าที่เลือกตั้งหายไปไหนหมดแล้ว จะว่าไป ประชาธิปไตยของไทยมาไกลจนมี รัฐธรรมนูญ ฉบับประชาชน 2540 แล้ว หากไม่มีทหารลากรถถังออกมาทำการรัฐประหาร ฉีกรัฐธรรมนูญทิ้ง สิ่งที่ตามมาก็คือรัฐธรรมนูญฉบับปลายกระบอกปืน และทำให้ทหารใหญ่คับฟ้า ถ้าไม่เกิดเหตุการณ์เช่นนี้ ประชาธิปไตยของไทย จะก้าวหน้าไม่แพ้ ประเทศต่างๆแน่ ก็เพราะอย่างนี้ จึงเกิดการวิจารณ์ การเมืองใหม่ และพันธมิตรฯ ว่า ขัดต่อหลักประชาธิปไตย และเลวร้ายกว่าการรัฐประหารเสียอีก.... “ถึงแม้รัฐบาลจะมีข้อบกพร่องสูง  แต่มันจะยิ่งผิดและอันตรายยิ่งกว่า หากกลุ่มม็อบที่ยึดทำเนียบ ซึ่งมีลักษณะเผด็จการ สามารถล้มรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งของเสียงส่วนใหญ่ได้ ....”
 “แกนนำพันธมิตรฯ ไม่ใช่พวกเสรีนิยม หรือ นักประชาธิปไตย แต่คือกลุ่มนักธุรกิจ นายพล คนชั้นสูง ที่เป็นขวาจัด พวกเขาไม่ได้เรียกร้องการเลือกตั้งใหม่ ซึ่งพวกเขาก็ต้องพ่ายแพ้ แต่ต้องการ ระบอบการเมืองใหม่ ซึ่งแท้จริง คือ การกลับไปสู่ยุคเผด็จการ ที่มีระบบรัฐสภา จากการสรรหา และให้อำนาจกับทหารที่จะเข้ามามีบทบาท และจัดการเมื่อไรก็ได้” การเรียกร้องการเมืองใหม่ เป็นเพียงการเรียกร้องของกลุ่มคนเพียงกลุ่มเดียว ในประเทศ ในขณะเดียวกันก็มีการออกมาปฏิเสธการเมืองใหม่อย่างสินเชิงของกลุ่มคนบางกลุ่มเช่นเดียวกัน รวมถึงพลังเงียบหรือกลุ่มที่ยังไม่ได้ออกมาแสดงพลังอีกมากมาย ดังนั้นการเกิดขึ้นของการเมืองใหม่ในประเทศไทยคงเป็นไปได้ยาก

ข้อเสนอแนะ

การเมืองใหม่จะเกิดขึ้นหรือไม่นั้นก็ต้องมีการพิจารณาคิดให้รอบคอบหลาย ๆ มุม หลาย ๆ ด้าน ว่าการเมืองใหม่ มีหลักการอย่างไร วิธีที่ได้มาของผู้บริหารหรือตัวแทนของประชาชนอย่างชัดเจน และเป็นที่ยอมรับของประชาชนส่วนใหญ่ ควรระวังบางทีถ้าไม่รอบคอบการเมืองใหม่อาจเป็นตัวชนวนให้เกิดสิ่งเลวร้ายที่ไม่ได้คาดถึงได้ในอนาคต

อ้างอิงแหล่งที่มา www.Google.com  www.thai.school.net www.rssthai.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น