วันอังคารที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

การเกษตรของไทย

                    
าคเกษตรยังคงมีบทบาทสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศ  เพราะนอกจากจะก่อให้เกิดรายได้แล้ว  คนส่วนใหญ่ของประเทศยังมีอาชีพทำการเกษตร  และผลการพัฒนาการเกษตรที่ผ่านมา  พบว่ารายได้และความเป็นอยู่ของเกษตรกร  โดยรวมดีขึ้น แม้แต่ในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจที่ผ่านมาภาคการเกษตรได้รับผลกระทบน้อยกว่าภาคอื่น ๆ ของประเทศ  เป็นผลมาจากการดำเนินนโยบายหลายด้าน  รวมทั้งการส่งเสริมและสนับสนุนให้เกษตรกรทำการเกษตรในแนวทฤษฎีใหม่  ซึ่งเป็นแนวทางหนึ่งของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาบ้างแล้ว


         อย่างไรก็ตาม  ยังมีความแตกต่างของรายได้จากคนในภาคการเกษตรและภาคผลิตอื่นมาก  ความเสื่อมโทรมของทรัพยากรธรรมชาติที่ใช้ในการผลิตสินค้าเกษตร  ขณะเดียวกันการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในยุคโลกาภิวัฒน์  การรวมตัวทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศแบบบทวิภาคีและพยุหภาคี  ได้ส่งผลกระทบที่สำคัญต่อภาคการเกษตรและเกษตรกรของไทย ทำให้ประเทศไทยต้องมีการปรับตัวรับสถานการณ์โดยเฉพาะเกษตรกร


         กระทรวงเกษตรและสหกรณ์  จึงได้ยกร่างแผนพัฒนาการเกษตร  เพื่อใช้เป็นกรอบและแนวทางในการดำเนินงานของภาคเกษตร  ซึ่งเน้นนโยบายให้เกษตรกรเป็นศูนย์กลางในการพัฒนา  โดยใช้แนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง  โดยเกษตรกรรายย่อย  หรือเกษตรกรที่มีที่ดินทำกินน้อยจะส่งเสริมการเกษตรตามแนวทฤษฎีใหม่ ผลิตเพื่อเป็นฐานให้พึ่งเศรษฐกิจพอเพียง  เกษตรกรขนาดกลาง หรือเกษตรกรก้าวหน้า ส่งเสริมการสร้างเครือข่ายดำเนินการรวมพลังช่วยเหลือซึ่งกันและกันในรูปแบบ    วิสาหกิจชุมชนกลุ่มเกษตรกรหรือสหกรณ์ ให้ความสำคัญกับการผลิตจากองค์ความรู้และวิทยการสมัยใหม่ที่ผสมผสานกับเทคโนโลยีพื้นฐานและภูมิปัญญาท้องถิ่นเป็นตัวขับเคลื่อน  สำหรับเกษตรกรรายใหญ่  หรือเกษตรพาณิชย์  เน้นการอำนวยความสะดวกทางการค้าและพัฒนาการผลิตให้มีคุณภาพ ตรงกับความต้องการของผู้บริโภค  โดยมี


         วิสัยทัศน์  ดูแลเกษตรกรให้มีความเป็นอยู่พอเพียง และผาสุก
         พันธกิจ ส่งเสริมให้เกษตรกรมีการประยุกต์ใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงทุกครัวเรือน  พัฒนาคุณภาพชีวิตของเกษตรกรให้มีความผาสุก  โดยมีดัชนีชี้วัดความผาสุกของเกษตรกร 5 ด้าน ได้แก่ ด้านเศรษฐกิจ ด้านสุขอนามัย ด้านการศึกษา ด้านสังคม และด้านสิ่งแวดล้อม ส่งเสริมให้มีการผลิตสินค้าเกษตรและอาหารที่มีมาตรฐานปลอดภัยต่อผู้บริโภคทั้งภายในและต่างประเทศ
     
 เป้าหมาย 


(1) ครัวเรือนเกษตรยากจนลดลงเหลือร้อยละ 4 ในปี 2554


(2) ครัวเรือนเกษตรไม่ต่ำกว่า 1 ใน 4 ทำการเกษตรตามแนวเศรษฐกิจ   พอเพียง
(3) สนับสนุนให้ครัวเรือนเกษตรลดการใช้สารเคมีในฟาร์ม
(4) อัตราการเติบโตของสาขาเกษตรเฉลี่ยร้อยละ 3 ต่อปี
(5) ฟาร์ม / โรงงานที่ผลิตสินค้าเกษตรและอาหารมีมาตรฐาน
ยุทธศาสตร์การพัฒนา  ประกอบด้วย 4 ยุทธศาสตร์หลัก  ได้แก่
              1. การสร้างความเข้มแข็งให้กับเกษตรกรและสถาบันเกษตรกร
              2. พัฒนาสินค้าเกษตร
              3. บริหารจัดการทรัพยากรเกษตร
              4.การเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการ
* หมายเหตุ ร่างแผนพัฒนาการเกษตรกำลังอยู่ระหว่างการพิจารณา

                          

อ้างอิง http://gms.oae.go.th/Z_Show.asp?ArticleID=105

แนวโน้มของภาคอุตสาหกรรมในปี 2555

              
แนวโน้มของภาคอุตสาหกรรมในปี 2555 ว่า แนวโน้มอุตสาหกรรมปี 2555 มีโอกาสขยายตัวมากกว่าปี 2554 และจะค่อยๆ ฟื้นตัวจากต้นปีเป็นต้นไป โดยภาวะอุตสาหกรรมในไตรมาส 1 ปี 2555 ยังอยู่ในภาวะชะลอตัวต่อเนื่องจากไตรมาส 4 ปี 2554 แต่ในไตรมาส 2 ปี 2555 จะเริ่มอยู่ในช่วงขาขึ้น แต่การขยายตัวยังมีไม่มาก เพราะอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมยังไม่ฟื้นตัวเต็มที่


ส่วนแนวโน้มในช่วงครึ่งหลังของปี 2555 คาดว่าจะเติบโตได้ดีและมีปัจจัยสนับสนุนจากการลงทุนภาครัฐ ซึ่งคาดว่าผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) อุตสาหกรรมปี 2555 จะขยายตัว 5-6% ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมขยายตัว 6-7% และอัตราการใช้กำลังการผลิตอยู่ที่ 65-68 %


ก่อนหน้านี้คาดการณ์ว่าโรงงานที่ถูกน้ำท่วมครั้งนี้ จะฟื้นฟูก่อนสิ้นไตรมาส 2 แต่ในภาพรวมเชื่อว่าการฟื้นฟูโรงงานที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมจะเร็วกว่าที่คาดไว้ โดยในเดือนม.ค. 2555 โรงงานที่ถูกน้ำท่วมจะเริ่มผลิตได้ประมาณ 70% และจะค่อยผลิตได้เต็มที่มากขึ้นยกเว้นโรงงานที่ได้รับความเสียหายมาก ซึ่งถ้ามีการกระตุ้นเศรษฐกิจภายในประเทศได้เร็วจะช่วยให้การฟื้นตัวของภาคอุตสาหกรรมได้เร็วเช่นกัน


สำหรับการลงทุนภาครัฐจะเป็นปัจจัยบวกสำคัญของเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมไทย โดยงบประมาณจะถูกนำมาใช้ในการช่วยเหลือผู้ประสบภัยจากน้ำท่วม ซ่อมแซมสาธารณูปโภคที่เสียหายและการลงทุนป้องกันน้ำท่วมในอนาคต ซึ่งทำให้การใช้จ่ายภาครัฐมีความสำคัญและมีส่วนช่วยให้การบริโภคภายในประเทศสูงขึ้น รวมทั้งจะเกิดการเร่งผลิตในอุตสาหกรรมที่มีความต้องการในช่วงการฟื้นฟูหลังน้ำท่วม


ปัจจัยเสี่ยงของอุตสาหกรรมไทย มาจากเศรษฐกิจโลกที่อยู่ในภาวะชะลอตัว ซึ่งส่งผลกระทบต่อการส่งออกของไทยและมีโอกาสที่การส่งออกจะชะลอตัวลงจากปี 2554 โดยตลาดหลักของไทยอาจจะมีปัญหา เช่น สหรัฐ สหภาพยุโรป (อียู) ซึ่งเศรษฐกิจสหรัฐมีปัญหาเชิงโครงสร้างที่ทำให้เศรษฐกิจชะลอตัวนาน และเศรษฐกิจอียูได้อ่อนแอลงมากจึงฉุดเศรษฐกิจโลกให้ชะลอตัวมากกว่าที่เคยคาดการณ์ไว้


ทั้งนี้ ตลาดเอเชียและอาเซียนจะช่วยลดผลกระทบของการส่งออกไทย รวมทั้งอาจได้รับปัจจัยเสี่ยงจากเงินบาทแข็งค่า เพราะเงินทุนจากต่างประเทศจะไหลเข้ามามากขึ้นผ่านบริษัทประกันข้ามชาตินับแสนล้านบาทและเงินทุนที่เข้ามาเพื่อฟื้นฟูกิจการที่ถูกน้ำท่วมในไทย และอาจได้รับปัจจัยลบจากการปรับค่าจ้างขั้นต่ำขึ้นเป็นวันละ 300 บาท จะทำให้อุตสาหกรรมที่มีการจ้างงานมากมีต้นทุนค่าจ้างสูงขึ้น ซึ่งผู้ประกอบการต้องเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและนำเทคโนโลยีมาใช้มากขึ้น และยกระดับคุณภาพสินค้าให้เป็นระดับพรีเมียมเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มและสร้างความโดดเด่นของสินค้าไทยให้แข่งขันกับต่างชาติได้


หากพิจารณารายอุตสาหกรรมที่ขยายตัวได้ดีในปี 2555 จะเป็นอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับการฟื้นฟูหลังน้ำท่วม โดยเฉพาะอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ที่มีความเพิ่มขึ้นเพื่อซ่อมแซมโครงสร้างพื้นฐาน อาคารและบ้านเรือน ซึ่งผู้ประกอบการได้เตรียมการผลิต รองรับความต้องการที่จะเพิ่มขึ้นมากในช่วงไตรมาส 1-2


ส่วนอุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้า จะมีความต้องการเหล็กทรงยาวที่ใช้ในการก่อสร้างมากขึ้น และยังมีการผลิตมากขึ้นเพื่อรักษาสต็อกที่ลดลงในช่วงปลายปี 2554 สำหรับเหล็กทรงแบนคาดว่าจะมีความต้องการใช้ลดลงเนื่องจากนิคมอุตสาหกรรมที่เป็นอุตสาหกรรมต่อเนื่องถูกน้ำท่วม เช่น ยานยนต์ อิเล็กทรอนิกส์ โดยทำให้ความต้องการใช้เหล็กทรงแบนลดลงด้วย


นอกจากนี้ อุตสาหกรรมที่ถูกน้ำท่วม จะเริ่มมีภาวะการผลิตที่ดีขึ้น โดยอุตสาหกรรมยานยนต์คาดว่าจะมีการผลิต 2 ล้านคัน เพิ่มขึ้นจากปี 2554 ที่ผลิตได้ 1.5 ล้านคัน หรือเพิ่มขึ้น 33% ซึ่งโรงงานผลิตรถยนต์ที่ถูกน้ำท่วมคาดว่าจะกลับมาผลิตได้ในไตรมาส 2 ปี 2555 มีปัจจัยสนับสนุนจากการลงทุนสายการผลิตรถยนต์รุ่นใหม่ก่อนหน้านี้ เพื่อจำหน่ายในประเทศและส่งออกไปเอเชีย และได้รับปัจจัยสนับสนุนจากนโยบายรถยนต์คันแรกของรัฐบาล แต่ปัจจัยอัตราดอกเบี้ยและราคาน้ำมันอาจมีผลต่อการตัดสินใจซื้อรถยนต์ของผู้บริโภค


อุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ คาดว่ายังมีการขยายตัวแต่ไม่มาก จากการขยายตัวทั้งตลาดในประเทศและต่างประเทศ โดยเครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้านที่ได้รับความเสียหาย จากน้ำท่วมจะมีความต้องการเพื่อชดเชยกับส่วนที่เสียหาย เช่น โทรทัศน์ ตู้เย็น เครื่องปรับอากาศ ส่วนอิเล็กทรอนิกส์จะมีความต้องการเพิ่มขึ้นจากสินค้าไอทีประเภทใหม่ แต่ยังมีปัจจัยเสี่ยงจากเศรษฐกิจสหรัฐและอียูที่มีความต้องการไม่แน่นอนและส่งผลต่อความต้องการสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ในตลาดโลก


อุตสาหกรรมอาหารมีแนวโน้มขยายตัวดีขึ้นเล็กน้อย จากความต้องการสินค้าอาหารไทยที่อยู่ในเกณฑ์ดี โดยการส่งออกอาหารในปี 2555 คาดว่าจะขยายตัว 7.8% มูลค่า 28,400 ล้านดอลลาร์ ซึ่งตลาดสหรัฐและอียูที่เป็นตลาดหลักยังมีความต้องการอาหารจากไทย แต่ต้องติดตามปัจจัยเสี่ยงที่อาจส่งผลกับอุตสาหกรรมอาหาร เช่น เงินบาทแข็งค่า การลดค่าเงินของประเทศคู่แข่ง มาตรการกีดกันทางการค้า ส่วนการบริโภคอาหารภายในประเทศอาจได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวทำให้ต่อความต้องการสินค้าของผู้บริโภคลดลง


อย่างไรก็ตาม มีอุตสาหกรรมที่ต้องจับตาเป็นพิเศษ ได้แก่ อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม ซึ่งมีแนวโน้มการผลิตเส้นใย ผ้าผืนและเสื้อผ้าสำเร็จรูปจะลดลง เนื่องจากได้รับผลกระทบจากการชะลอตัวของตลาดหลักทั้งสหรัฐ อียูและญี่ปุ่น รวมทั้งตลาดส่งออกมีการแข่งขันที่รุนแรงขึ้น จากคู่แข่งที่มีต้นทุนการผลิตที่ต่ำกว่า และความผันผวนของราคาฝ้ายที่เป็นวัตถุดิบหลักของสินค้า และโรงงานสิ่งทอรายใหญ่บางแห่งได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม ทำให้ต้องหยุดผลิตชั่วคราว จึงมีผลต่ออุตสาหกรรมต่อเนื่อง เช่น ทอผ้า ฟอกย้อม


ส่วนโรงงานผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูปที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม ส่วนใหญ่เป็นเอสเอ็มอีที่ตั้งอยู่ถนนเพชรเกษม ถนนเอกชัย-บางบอนและถนนพุทธมณฑล โดยส่งผลต่อการผลิตสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มตั้งแต่ไตรมาส 4 ปี 2554 ต่อเนื่องถึงปี 2555


ปัญหาน้ำท่วมที่เกิดขึ้นส่งผลให้เสียโอกาสทางธุรกิจและความสามารถในการแข่งขัน โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มที่ประเทศในอาเซียนกำลังขยายตัวอย่างรวดเร็ว เช่น อินโดนีเซีย เวียดนาม ซึ่งกำลังการผลิตที่ลดลงในช่วงน้ำท่วมและช่วงการฟื้นฟูโรงงานจะทำให้คู่แข่งชิงคำสั่งซื้อจากคู่ค้าได้มากขึ้น

การศึกษาของไทยในกรอบอาเซียน

UploadImage

การเข้าสู่ประชาคมอาเซียน หลายคนอาจจะมีความวิตกกังวลในเรื่องนี้ทั้งในการเตรียมตัวการใช้ชีวิต การทำงาน ซึ่งรวมไปถึงสำหนับน้องๆที่ต้องเตรียมปรับตัวทั้งด้านการเรียน และการวางแผนการเลือกอนาคต การเรียนต่อ  วันนี้ศูนย์ข่าวการศึกษาไทยได้นำความคืบหน้าในการเตรียมความพร้อมสู่ประชาคมอาเซียนในด้านการศึกษาของไทย มารายงานให้ทราบ


กระทรวงศึกษาธิการ ได้กำหนดกรอบและแนวทางในการปฏิบัติด้านการศึกษาของไทย เพื่อเตรียมความพร้อมในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนใน ปี 2558 ที่จะถึงนี้ โดยกำหนดกรอบอาเซียนแนวทางการศึกษาไทยดังนี้


1.สำนักปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ดำเนินงานภายใต้กรอบรัฐมนตรีศึกษาอาเซียน กรอบประเทศอาเซียนกับประเทศคู่เจรจา เสริมสร้างความตะหนักเกี่ยวกับอาเซียน และการจัดตั้งสถาบันนานาชาติเพื่อพัฒนาผู้บริหารการศึกษา


2.สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีโครงการ Education Hub School และอยู่ระหว่างดำเนินโครงการ Spirit of ASEAN (Sister/Partner  School และ Buffer School) สำหรับกิจกรรมที่จะดำเนินการในปี 2554 คือการพัฒนาหลักสูตรและสื่อเกี่ยวกับอาเซียน รวมทั้งกิจกรรมค่ายเยาวชนเพื่อการเรียนรู้สู่ประชาคมอาเซียน


3.สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา มีโครงการแลกเปลี่ยนนักศึกษามาเลเซีย-อินโดนีเซีย-ไทย การประชุมอย่างไม่เป็นทางการระหว่างผู้บริหารระดับสูงด้านการอุดมศึกษา และการจัดทำยุทธศาสตร์ด้านการอุดมศึกษาอาเซียน


4.สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา โครงการเวทีแลกเปลี่ยนความรู้เกษตรนานาชาติ จัดการเรียนการสอนบริการสังคมร่วมกับนักศึกษาสิงคโปร์ โครงการแลกเปลี่ยนกับ Institute Of Technical Education Collage Eastสิงคโปร์ โครงการพัฒนาโรงเรียนเทคนิคลาว แลกเปลี่ยนนักศึกษาทวิภาคีระดับ ปวส.กับบรูไนฯ โรงเรียนพระราชทานฯ วิทยาลัยกำปงเฌอเตียลกัมพูชา ร่วมมือกับ SEAMEO SEAMOLEC ประเทศอินโดนีเซีย จัดการศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้


5.สำนักเลขาธิการสภาการศึกษา จัดโครงการสัมมนาการวิจัยการศึกษาไทย-มาเลเซีย บรรยายทางวิชาการเรื่องความตะหนักเรื่องการก้าวสู่อาเซียน บรรยายเรื่องการจัดการศึกษาเพื่อปวงชนและคนด้อยโอกาสให้กับผู้แทนมาเลเซีย โครงการพัฒนานโยบายการศึกษาสู่อาเซียน:กรณีศึกษาไทย-ลาว-เวียดนาม โครงการความร่วมมือไทย-ลาว โครงการความร่วมมือไทย-เวียดนาม


6.สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย จัดศูนย์การเรียนรู้ชุมชนให้ประเทศเพื่อนบ้าน อบรมเทคนิคการจัดนิทรรศการ การนำเสนอข้อมูล ส่งเสริมความรู้เรื่องความหลากหลายทางชีวภาพชุมชนในศูนย์วิทยาศาสตร์ของประเทศเพื่อนบ้าน


7.สำนักบริหารงานคณะกรรมการการส่งเสริมการศึกษาเอกชน เผยแพร่ประชาสัมพันธ์ความรู้เรื่องอาเซียนแก่บุคลากร ใน สช.และโรงเรียนเอกชน สนับสนุนโรงเรียนเข้าแข่งขันกีฬาประถมศึกษาอาเซียนครั้งที่ 3 ที่ประเทศอินโดนีเซีย โครงการแลกเปลี่ยนนักเรียนมัธยมศึกษาปี 2552 กับสิงคโปร์ ร่วมสัมมนาวิชาการและนิทรรศการ การศึกษาไทยที่ประเทศเวียดนาม


8.สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา คุรุสภาได้เข้าร่วมเป็นภาคีองค์กรสมาชิกสภาครูอาเซียน โดยร่วมกับองค์กรครูในกลุ่มประเทศอาเซียน 5ประเทศได้แก่ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และไทย ก่อตั้งขึ้นในปี 2521 ปัจจุบันมีภาคีสมาชิก 23 องค์กรจาก 9 ประเทศ


9.เครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียน (AUN) ได้จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนนักศึกษาภายในอาเซียน มีการพัฒนาหลักสูตรและการประเมินหลักสูตรในสาขาวิชาต่างๆ เช่น เคมี คอมพิวเตอร์ วิศวกรรมศาสตร์ ฯลฯ


นอกจากนี้ กระทรวงศึกษาธิการยังได้พิจารณาแนวทางการดำเนินงานตามปฏิญญาอาเซียนด้านการศึกษาเพื่อกำหนดเป็นนโยบายดังนี้
1.การเผยแพร่ความรู้ ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับอาเซียน เพื่อสร้างความตระหนักและเตรียมความพร้อม ของครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา นักเรียน นักศึกษา และประชาชน เพื่อก้าวสู่ประชาคมอาเซียน ภายในปี 2558


2.การพัฒนาศักยภาพของนักเรียน นักศึกษาและประชาชน ให้มีทักษะที่เหมาะสมเพื่อเตรียมความพร้อมในการก้าวสู่ประชาคมอาเซียนเช่นความรู้ภาษาอังกฤษ ภาษาเพื่อนบ้าน เทคโนโลยีสารสนเทศ ทักษะและความชำนาญที่สอดคล้องกับการปรับตัวและเปลี่ยนแปลงทางอุตสาหกรรมและการเพิ่มโอกาสในการหางานทำของประชาชน


3.การพัฒนามาตรฐานการศึกษาเพื่อส่งเสริมการหมุนเวียนของนักศึกษาและครูอาจารย์ ในอาเซียน รวมทั้งให้มีการยอมรับในคุณสมบัติทางวิชาการร่วมกันในอาเซียน การส่งเสริมความร่วมมือระหว่างสถาบันการศึกษาต่างๆและการแลกเปลี่ยนเยาวชน การพัฒนาระบบการศึกษาทางไกล ซึ่งช่วยสนับสนุนการศึกษาตลอดชีวิต การส่งเสริมและปรับปรุงการศึกษาด้านอาชีวศึกษาและการฝึกอบรมทางอาชีพทั้งในขั้นต้นและขั้นต่อเนื่อง ตลอดจนส่งเสริมและเพิ่มพูนความร่วมมือระหว่างสถาบันการศึกษาของประเทศสมาชิกอาเซียน


4.การเตรียมความพร้อมเพื่อเปิดเสรีทางการศึกษาในอาเซียน เพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ประกอบด้วย การจัดทำความตกลงยอมรับด้านการศึกษา การพัฒนาความสามารถ ประสบการณ์ในสาขาวิชาชีพสำคัญต่างๆ เพื่อรองรับการเปิดเสรีการศึกษาควบคู่กับการเปิดเสรีด้านการเคลื่อนย้ายแรงงาน


5.การพัฒนาเยาวชนเพื่อเป็นทรัพยากรสำคัญในการก้าวสู่ประชาคมอาเซียน


รมว.ศธ. ได้มอบหมายให้องค์กรหลักเตรียมจัดทำแผนการดำเนินงานและแต่งตั้งคณะอนุกรรมการจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อเตรียมการรองรับในเรื่องดังกล่าว โดยให้พิจารณาถึงระบบการศึกษาในอาเซียนและ นโยบายของประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อให้เกิดความร่วมมืออย่างแท้จริงในอาเซียนต่อไป.

อ้างอิงhttp://www.enn.co.th ศูนย์ข่าวการศึกษาไทย

ปัญหาน้ำท่วมปี 2554 จำเป็นต้องตั้งคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริง



          
          ภัยพิบัติน้ำท่วมที่รุนแรงครั้งใหญ่ที่สุดของประเทศไทยในรอบหลายสิบปี ยังคงสร้างความเสียหายในจังหวัดต่างๆ อย่างต่อเนื่อง และขณะนี้ ก็กำลังกระชับพื้นที่เข้ามายังมหานครกรุงเทพฯ อย่างไม่ลดละ ล่าสุด ข้อมูลจากทางการเปิดเผยว่า ยอดผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้นเป็นกว่า 500 คนแล้ว มีการประเมินค่าความเสียหายทางเศรษฐกิจจากน้ำท่วมครั้งนี้คิดเป็นมูลค่าราว 3 แสนล้านบาท หรือประมาณ 3 เปอร์เซนต์ของจีดีพี ซึ่งผู้เชียวชาญบางท่านได้ประเมินว่า ความบอบช้ำทางเศรษฐกิจครั้งนี้ เสียหายมากกว่าวิกฤติเศรษฐกิจต้มยำกุ้งปี 2540 มากกว่าหลายเท่าตัว ยังไม่ต้องพูดถึงความเสียหายทางจิตใจ และความเป็นอยู่ของประชาชนหลายแสนที่ทรัพย์สินเกือบทั้งชีวิตลอยหายไปในพริบตาเดียว ประชาชนจำนวนมากตั้งคำถามว่า ตกลงน้ำท่วมครั้งนี้ มีสาเหตุมาจากอะไรกันแน่ และยังสงสัยว่า ปีหน้าจะเกิดเหตุการณ์เช่นนี้กับพวกเขาอีกหรือไม่ ถ้ามาแล้วจะต้องรับมือกันอย่างไร รัฐบาลมีแผนป้องกันภัยพิบัติหรือไม่ ตกลงนิคมอุตสาหกรรมควรจะย้ายหรือเปล่า หากแต่คนเหล่านี้ก็ยังไม่ได้รับคำตอบจากหน่วยงานไหนที่ชัดเจน และก็น่าสงสัยว่า พวกเขาจะได้รับคำตอบเหล่านี้ในอนาคตบ้างไหม หนึ่งในข้อเสนอของการจัดการภัยพิบัติคราวนี้ คือ ให้มีการตั้งคณะกรรมการอิสระเพื่อสืบหาและสรุปข้อเท็จจริง ซึ่งทำหน้าที่สอบสวนและเปิดเผยข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์น้ำท่วมใหญ่ปี 2554 เพื่อเปิดเผยแก่สาธารณชน และการวางแผนป้องกันภัยพิบัติในอนาคตได้อย่างทันท่วงทีและมีประสิทธิภาพ สำหรับประเทศไทยที่ไม่ค่อยจะมีคณะกรรมการอิสระที่เคยทำงานได้จริงนั้น การหันไปดูประเทศอื่นเพื่อศึกษาแนวทางการจัดการภัยพิบัติ อาจจะมีประโยชน์บ้างไม่มากก็น้อย กรณีศึกษาจากออสเตรเลีย กรณีศึกษาหนึ่งที่น่าสนใจ คือเหตุการณ์น้ำท่วมในรัฐควีนส์แลนด์ ประเทศออสเตรเลีย ที่เกิดขึ้นเมื่อเดือนมกราคมปี 2554 กล่าวกันว่าเป็นภัยทางธรรมชาติครั้งรุนแรงที่สุดของออสเตรเลียในรอบ 200 ปี ซึ่งได้คร่าชีวิตคนไปกว่า 30 คน และทำให้ประเทศเสียหายทางเศรษฐกิจกว่า 1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เหตุการณ์ดังกล่าวส่งผลให้บางพื้นที่ของรัฐควีนส์แลนด์ซึ่งมีประชากรราวหนึ่งล้านสี่แสนคนนั้น จมอยู่ใต้น้ำที่สูงกว่า 4 เมตร น้ำท่วมในเมืองอิปสวิช (Ipswich) รัฐควีนส์แลนด์ ภาพจาก lordphantom74 (CC BY 2.0) เมื่อกลางเดือนมกราคม ก่อนที่อุทกภัยดังกล่าวจะสิ้นสุดเสียอีก รัฐบาลของแคว้นควีนส์แลนด์ ก็มีคำสั่งให้ตั้งคณะกรรมการอิสระเพื่อค้นหาความจริง (Commission of Inquiry) เกี่ยวกับเหตุการณ์น้ำท่วม โดยตั้งผู้พิพากษาศาลสูงสุดแห่งควีนส์แลนด์ แคเธอรีน โฮล์มส์ เป็นประธานคณะกรรมการ โดยมีจิม โอซัลลิแวน อดีตอธิบดีกรมตำรวจควีนส์แลนด์ และฟิลลิป คัมมินส์ ผู้เชี่ยวชาญด้านวิศวกรรมเขื่อน เป็นรองประธาน คณะกรรมการดังกล่าวมีอำนาจออกหมายเรียก และหมายค้นใครก็ได้ที่เกี่ยวข้อง เพื่อมาเป็นพยานและให้ข้อมูลต่างๆ เกี่ยวกับการค้นหาความจริงกรณีอุทกภัยในควีนส์แลนด์ คณะกรรมการอิสระดังกล่าว มีหน้าที่สอบสวนในหลายประเด็น เช่น ความพร้อมของหน่วยงานต่างๆ ในการรับมือภัยพิบัติ, การจัดการระบบเขื่อน, การพยากรณ์อากาศและระบบเตือนภัย, ความเหมาะสมของการวางผังเมือง ไปจนถึงตรวจสอบการทำงานของบริษัทประกันภัย โดยข้อเท็จจริงที่ได้ต้องผลิตออกมาเป็นรายงานเพื่อเผยแพร่สู่สาธารณชน โดยกำหนดให้รายงานขั้นกลาง (interim report) ส่งเมื่อวันที่ 1 สิงหาคมที่ผ่านมา ฝีมือมนุษย์หรือภัยธรรมชาติ? ในขณะที่สื่อมวลชนบางฉบับในเมืองไทยยังคงโหมข่าวว่า สาเหตุของอุทกภัยครั้งนี้ เป็นเพราะสยามเทวาท่านลงโทษเพราะมีผู้นำหญิงนำกาลีมาสู่เมือง สื่อมวลชนหัวใหญ่ของออสเตรเลียอย่าง ดิ ออสเตรเลียน (The Australian) ได้เข้าถึงข้อมูลในเดือนมกราคม 2554 ที่เปิดเผยว่า น้ำที่ไหล่บ่าเข้าท่วมควีนส์แลนด์ราว 80 เปอร์เซ็นต์ มาจากเขื่อนวิเวนโฮ (Wivenhoe Dam) ที่กักเก็บน้ำไว้มากเกินไปช่วงปลายปีในฤดูฝน (ฤดูฝนของออสเตรเลียอยู่ระหว่างเดือนตุลาคมถึงเมษายน) ประกอบกับปรากฏการณ์ “ลา นินญ่า” (La Nina) ที่นำพายุไซโคลนเข้ามาสู่ทวีปพร้อมปริมาณน้ำฝนที่มากที่สุดที่เคยมีมาของออสเตรเลีย ทำให้มวลน้ำปริมาณมหาศาลไหลบ่าเข้าท่วมเมืองสามในสี่ของรัฐควีนส์แลนด์จนไม่เหลือชิ้นดี ข้อสงสัยที่ถูกหยิบยกขึ้นมาโดยหนังสือพิมพ์ ดิ ออสเตรเลียนนี้ ทำให้รัฐบาลบรรจุเรื่องการจัดการน้ำในเขื่อน เป็นวาระหลักในการสอบสวนของคณะกรรมการค้นหาความจริงด้วย น้ำท่วมในเมืองอิปสวิช รัฐควีนส์แลนด์ ภาพจาก Jim yes that is me (CC BY 2.0) หลังจากน้ำท่วมไม่ถึง 8 เดือน ในวันที่ 1 สิงหาคม 2554 รายงานสรุปข้อเท็จจริง ก็ได้เผยแพร่ออกสู่สาธารณชน และได้ข้อสรุปว่า อุทกภัยที่เกิดขึ้นมีส่วนมาจากการปล่อยน้ำในเขื่อนไม่มากก็น้อย ทั้งนี้ รายงานดังกล่าวระบุปัจจัยที่เกี่ยวข้องไว้หลายด้านด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็น การสื่อสารระหว่างกระทรวงทรัพยากรน้ำ และกรมที่เกี่ยวข้องที่ไม่ชัดเจน นำไปสู่การจัดการภัยพิบัติไม่สามารถตอบสนองได้ทันท่วงที การคำนวณปริมาณน้ำฝนในช่วงปลายปีที่ผิดพลาดของวิศวกรเขื่อนและกรมอุตุนิยมวิทยา ทำให้การปล่อยน้ำจากเขื่อนมีมากเกินไปในระยะเวลาอันสั้น การมีมาตรวัดปริมาณน้ำที่ติดตั้งไม่ทั่วถึงบริเวณเขื่อน ทำให้การวัดปริมาณระดับน้ำมีความคลาดเคลื่อน นอกจากนี้ สื่อบางฉบับยังตั้งคำถามกับซอฟท์แวร์การจัดการทรัพยากรของกระทรวงน้ำที่มีอายุมากถึง 15 ปีด้วย บุคคลเกี่ยวข้องโดยตรง อย่างรัฐมนตรีกระทรวงน้ำของออสเตรเลีย สตีเฟน โรเบิร์ตสัน ได้กล่าวในระหว่างการไต่สวนสาธารณะว่า ถึงเขาจะรับทราบว่าเขื่อนวิเวนโฮควรจะปล่อยน้ำออกมาก่อนหน้านี้ เพื่อให้มีที่ว่างในการรับปริมาณน้ำฝน แต่ก็ยอมรับว่า ทางกระทรวงไม่ได้ดำเนินการอะไรต่อเพื่อรองรับมาตรการดังกล่าว ส่วนต่อคำถามที่ว่ากรมของเขาทำงานผิดพลาดหรือไม่ เขาตอบว่า เป็นเรื่องของคณะกรรมการที่ต้องไปสอบสวนและหาข้อสรุปด้วยตัวเอง การที่คณะกรรมการอิสระดังกล่าว มีอำนาจในการออกหมายเรียกพยานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องในการสอบสวนกรณีน้ำท่วม ทำให้มีการเรียกบุคคลอย่างน้อย 250 คน เข้ารับการไต่สวนสาธารณะ ทั้งจากกระทรวงน้ำ วิศวกรเขื่อน เจ้าหน้าที่รัฐท้องถิ่น ไปจนถึงเจ้าหน้าที่บริษัทประกันภัย และแจกแจงถึงหน้าที่และความรับผิดชอบของตนเองที่มีต่อการจัดการน้ำในช่วงดังกล่าวต่อคณะกรรมการ นอกจากนี้ ยังมีการจัดเวทีรับฟังสำหรับประชาชนที่เกี่ยวข้องซึ่งต้องการจะมาให้ปากคำเกี่ยวกับเหตุการณ์ด้วย ผู้ว่าการรัฐควีนส์แลนด์ แอนนา ไบลฮ์ กล่าวถึงความสำคัญของการตั้งคณะกรรมการอิสระนี้ว่า นอกจากจะทำให้เราสามารถสรุปปัญหาของการจัดการน้ำในเขื่อนแล้ว ยังทำให้เราสามารถวางแผนในอนาคตเพื่อป้องกันไม่ให้เหตุการณ์เช่นนี้ซ้ำรอยได้ “คณะกรรมการอิสระเพื่อค้นหาความจริง ถูกตั้งขึ้นมาเพื่อเป้าหมายที่สำคัญ คือ จะไม่มีก้อนหินก้อนไหนที่ไม่ถูกตรวจสอบ หากมันเกี่ยวข้องกับการตอบคำถามของประชาชนต่อภัยพิบัติที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการจัดการเขื่อนวิเวนโฮ หรือเหตุการณ์โชคร้ายที่แม่น้ำล็อกเกอร์ก็ตาม” ไบลฮ์ให้สัมภาษณ์กับหนังสือพิมพ์เอบีซี “เราจำเป็นต้องถอดบทเรียนจากเหตุการณ์นี้ เพื่อที่เราจะได้ป้องกันตัวเองให้พร้อมกว่านี้ในอนาคต เราต้องให้เกียรติผู้คนที่เสียชีวิตอย่างน่าเศร้าจากหายนะ และในการทำเช่นนั้น เราจำเป็นต้องเรียนรู้จากสิ่งที่เกิดขึ้น” เธอกล่าว ในขณะนี้ คณะกรรมการอิสระที่ค้นหาความจริงกรณีน้ำท่วมควีนส์แลนด์ ยังคงทำหน้าที่ต่อไป และมีหน้าที่ส่งรายงานฉบับสุดท้ายในเดือนมิถุนายนปี 2555 โดยจะสืบสวนในเรื่องการวางผังเมือง และผลิตข้อเสนอแนะเรื่องการปฏิรูปกฎหมายและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในระยะยาวเพิ่มเติม ในขณะที่รายงานขั้นกลาง มีจุดประสงค์เพื่อหาข้อสรุปและข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย เพื่อนำไปใช้ในการป้องกันและวางแผนภัยพิบัติก่อนฤดูฝนในปีถัดไป อันที่จริง วิวาทะเรื่องสาเหตุของน้ำท่วมว่ามาจากธรรมชาติหรือฝีมือมนุษย์นั้น ไม่ได้กำลังเกิดขึ้นแค่ประเทศไทยที่เดียว แต่ในประเทศอินเดียซึ่งประสบภัยน้ำท่วมใหญ่เมื่อเดือนกันยายนที่ผ่านมา ก็มีการถกเถียงเรื่องนี้ด้วยเช่นกัน วิวาทะร้อนในอินเดีย ในเดือนตุลาคมที่ผ่านมา หนังสือพิมพ์ของอินเดียหลายฉบับ ได้ตีพิมพ์การโต้ตอบระหว่างนักวิชาการ-นักเคลื่อนไหว และเจ้าหน้าที่รัฐ เกี่ยวกับกรณีน้ำท่วมใหญ่เมื่อเดือนกันยายน 2554 ในรัฐโอริสสา โดยฝ่ายค้านกล่าวว่า น้ำท่วมใหญ่ที่เกิดขึ้น มีสาเหตุมาจากฝีมือมนุษย์ เนื่องจากหน่วยงานที่รับผิดชอบกักเก็บน้ำในเขื่อนมากเกินไป ถึงกว่า 90 เปอร์เซ็นต์ ของปริมาตรเต็มของเขื่อน ทำให้เมื่อเข้าหน้าฝน เขื่อนไฮรากุดจำเป็นต้องปล่อยน้ำจำนวนมหาศาลออกมาภายในระยะเวลาเพียง 48 ชั่วโมงเท่านั้น ทำให้มีผู้เสียชีวิตกว่าแปดสิบคน และสร้างความเสียหายให้กับบ้านเรือนและพื้นที่เพาะปลูกจำนวนมาก ผู้เชียวชาญระบุว่า จุดประสงค์ดั้งเดิมของเขื่อนไฮรากุดที่ขวางแม่น้ำมหานาดี มีไว้เพื่อป้องกันน้ำท่วม อย่างไรก็ตามในระยะหลังๆ เขื่อนดังกล่าวถูกใช้เพื่อการชลประทาน การผลิตไฟฟ้า และใช้ในอุตสาหกรรมร่วมด้วย ทำให้มีการเก็กกับน้ำในเขื่อนมากเกินจำเป็น อย่างไรก็ตาม ทางการอินเดียได้ตอบโต้ว่า น้ำท่วมดังกล่าว ไม่ได้มีสาเหตุมาจากการจัดการน้ำในเขื่อนผิดพลาด และยืนยันว่า การปล่อยน้ำจากเขื่อนไฮราคุดซึ่งเป็นเขื่อนเอนกประสงค์ เป็นไปตามข้อกำหนดที่คำนวณไว้อย่างถูกต้องแล้ว ทางนักการเมืองฝ่ายค้านและนักเคลื่อนไหว ยังได้เรียกร้องให้รัฐบาลจัดตั้งคณะกรรมการค้นหาข้อเท็จจริง และตีพิมพ์ “สมุดปกขาว” เพื่อเผยแพร่ข้อมูลสู่สาธารณะอีกด้วย ปัญหาเผือกร้อน ส่วนในประเทศไทยเอง ถึงแม้ว่าจะไม่ค่อยมีสื่อมวลชนที่ตั้งคำถามกับสาเหตุของปัญหาน้ำท่วมอย่างตรงไปตรงมามากนัก แต่เรายังพบเห็นฝ่ายต่างๆ ทั้งนักวิชาการ หน่วยงานราชการ บล็อกเกอร์ นำข้อมูลมาประมวลและวิเคราะห์ถึงสาเหตุของน้ำท่วมปี 2554 มานำเสนอต่อสาธารณะกันอยู่เรื่อยๆ ซึ่งแต่ละฝ่ายก็มีข้อสรุปที่แตกต่างกันออกไป ไม่ว่าจะเป็น ปริมาณฝนที่มากผิดปรกติ เนื่องมาจากพายุโซนร้อน (สูงกว่าค่าเฉลี่ยถึง 40%) เป็นสาเหตุหลักของน้ำท่วมในครั้งนี้ (Andrew Walker, Thai flood cause revealed: rain! , เว็บไซต์นิวแมนดาลา) การบริหารจัดการน้ำอย่างไม่มีประสิทธิภาพ กล่าวคือ ข้อมูลปริมาณฝนที่ความเปลี่ยนแปลงอย่างชัดเจนนั้น ไม่ได้ถูกนำมาใช้ในวางแผนในการจัดการน้ำให้เหมาะสม (ชินวัชร์ สุรัสวดี, เทียบข้อมูลฝนจากดาวเทียม หาสาเหตุวิกฤตน้ำท่วม 2554, มติชน) ไม่มีการติดตามข้อมูลโดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างละเอียด ทำให้กรมชลประทานและการไฟฟ้าฝ่ายผลิต (กฟผ.) คาดการณ์ผิด และเก็บน้ำไว้ในเขื่อนใหญ่ทั้งหมดเพราะกลัวว่าจะไม่มีน้ำใช้ในหน้าแล้ง ส่งผลให้เมื่อฝนตกต่อเนื่อง เขื่อนใหญ่จำเป็นต้องปล่อยน้ำทั้งหมดออกมาพร้อมกัน ทำให้ปริมาณน้ำที่ปล่อยออกมามีมากกว่าปริมาณน้ำฝนที่ตกใส่เขื่อน (สมิทธิ ธรรมสโรช, น้ำท่วม...บริหารจัดการไม่เป็น [บทสัมภาษณ์], โพสต์ทูเดย์) การขาดการบูรณาการในการจัดการน้ำระหว่างหน่วยงานที่รับผิดชอบ ไม่ว่าจะเป็น กฟผ. กรมชลประทาน และกรมอุตุนิยมวิทยาที่มีวิสัยการทำงานแบบต่างคนต่างทำ รวมถึงปัญหาผังเมือง การขาดองค์ความรู้เรื่องน้ำที่เป็นระบบ และความไร้ประสิทธิภาพในการแก้ปัญหา (สิริพรรณ นกสวน สวัสดี, เห็นอะไรในสายน้ำ?, ประชาไท) ความไม่พร้อมของรัฐกับการรับมือภัยพิบัติขนาดใหญ่, ระบบการระบายน้ำ และประสิทธิภาพของระบบการพยากรณ์ โดยในปีนี้ ข้อมูลจากกรมอุตุนิยมวิทยาและกรมชลประทานพยากรณ์ว่า จะมีพายุเข้าเพียง 2 ลูก แต่ในความเป็นจริงมีพายุเข้าถึง 5 ลูก (มนตรี จันทวงศ์, เสวนาเปิดน้ำท่วม(ปาก): \น้ำท่วม ตอผุด\" การบริหารจัดการน้ำที่ผิดพลาด ผูกขาดโดยผู้เชี่ยวชาญ

                             

อ้างอิง http://prachatai.com/journal/2011/11/37790

ปัญหายาเสพติดในสังคมไทย

ปัญหายาเสพติด...ปัญหาระดับรากหญ้า...สู่ความมั่นคงของชาติ

                                            
          ในขณะที่หลายคนกำลังให้ความสำคัญกับปัญหาการเมืองไทแต่ปัญหาอีกประการที่หลายคนละเลยไปที่สร้างความรุนแรงในสังคมไม่แพ้ปัญหาการเมืองไทย นั่นก็คือ “ปัญหายาเสพติด” ปัญหายาเสพติดนับเป็นปัญหาสังคมที่มีความร้ายแรงระดับชาติ  ทุกสังคมชุมชนต่างได้รับผลกระทบจากปัญหายาเสพติดในทุกวันนี้     คนจำนวนมากกำลังเผชิญกับปัญหายาเสพติดแพร่ระบาดในสังคมไทย แม้จะได้มีมาตรการป้องกันและปราบปรามผู้ลักลอบจำหน่ายและเสพยาเสพติด  แต่ก็ยังไม่สามารถขจัดยาเสพติดให้หมดไปได้  เนื่องจากเป็นขบวนการที่มีความซับซ้อน  นับวันปัญหายาเสพติดยิ่งทวีความรุนแรงเพิ่มขึ้นเป็นทวีคูณ

          กล่าวได้ว่าปัญหายาเสพติดเป็นปัญหาสำคัญยิ่งของประเทศไทย  เนื่องจากเป็นปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อปัญหาอื่น ๆ มากมายในประเทศ  ปัญหายาเสพติดในประเทศไทยได้มีการเปลี่ยนแปลงและขยายตัวมากขึ้นจากผลของการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองเศรษฐกิจ สังคมและเทคโนโลยี การพัฒนาทางเศรษฐกิจที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว  ส่งผลให้โครงสร้างทางสังคมเปลี่ยนแปลงในลักษณะที่ขาดพลังและขาดความสมดุลในการพัฒนา  สถาบันหลักทางสังคมหลายสถาบันเกิดความอ่อนแอ เป็นช่องว่างทำให้ปัญหายาเสพติดแพร่ระบาดอย่างรวดเร็วและกว้างขวางมากขึ้น  ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการค้ายาเสพติดไม่ว่าจะเป็นนายทุนผู้ผลิต ผู้ค้า ผู้นำเข้า และส่งออกยาเสพติด อาศัยผลพวงจากการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวนำยาเสพติดทั้งที่มีอยู่เดิมและชนิดใหม่เข้ามา เผยแพร่ในหมู่ประชาชนในแต่ละกลุ่มซึ่งเป็นทรัพยากรบุคคลที่สำคัญต่อการพัฒนาประเทศ

           ยาเสพติดเป็นปัญหาที่ “เป็นภัยคุกคาม กัดกร่อน บ่อนทำลาย” ประเทศไทยส่งผลกระทบอย่างกว้างขวางทั้งต่อปัจเจกบุคคล และสังคมส่วนรวมในมิติต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น

ผลกระทบต่อตัวบุคคล ยาเสพติดทุกชนิด จะมีผลกระทบโดยตรงต่อร่างกายและจิตใจ โดยเฉพาะด้านบุคลิกภาพและสุขภาพอนมัย ความเสียหายทั้งชีวิตและทรัพย์สิน

ผลกระทบต่อครอบครัว ชุมชนและสังคม ครอบครัวที่มีผู้ติดยา มักได้รับความเดือดร้อนจากผู้ติดยาในทุกด้าน นำไปสู่ความยุ่งยาก ขัดแย้ง แตกแยก และสิ้นเปลืองในการแก้ปัญหา ผู้ติดยามักก่อให้เกิดอาชญากรรมต่อเนื่อง ตั้งแต่การเข้าไปเกี่ยวข้องกับแหล่งอยายมุข การลักเล็กขโมยน้อย การประทุษร้ายต่อชีวิตและทรัพย์สิน การพนันและอาชญากรรมต่าง ๆ สำหรับผู้ค้าและหรือผู้เสพซึ่งเป็นหัวหน้าครอบครัว เมื่อถูกจับกุมและดำเนินการทางกฎหมาย จะส่งผลกระทบให้สมาชิกภายในครอบครัวได้รับความเดือดร้อนในการดำรงชีวิตทั้งด้านเศรษฐกิจและสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งเด็กและเยาวชนที่อยู่ภายใต้การปกครองจะต้องออกจากโรงเรียน ซึ่งเป็นการทำลายอนาคตของประเทศชาติ

ผลกระทบต่อการบริหารจัดการภาครัฐ คดียาเสพติดที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง เป็นภาระต่องานด้านกระบวนการยุติธรรมทั้งระบบ ซึ่งส่งผลกระทบต่อภาระค่าใช้จ่ายของรัฐที่เพิ่มสูง และทำให้การดำเนินคดีด้านอื่น ๆ เกิดความล่าช้า นอกจากนี้ ปัญหายาเสพติดได้ก่อให้เกิดการทุจริต คอรัปชั่น โดยเฉพาะการทุจริตต่อหน้าที่ การรับสินบน การกลั่นแกล้งรีดไถ แสวงหาผลประโยชน์จากผู้กระทำความผิดซึ่งทำให้ประชาชนและสังคมเกิดความไม่ศรัทธาและเชื่อมั่นในการทำงานของเจ้าหน้าที่ของรัฐ

ผลกระทบต่อเศรษฐกิจและการคลังของประเทศ  การผลิตและการค้ายาเสพติด จัดเป็นกลุ่มธุรกิจ และเศรษฐกิจนอกกฎหมายที่ไม่ก่อให้เกิดการผลิต แม้ว่าการค้ายาเสพติดบางส่วนจะก่อให้เกิดมูลค่าเพิ่มและสร้างรายได้เมื่อมีการค้าขาย แต่ก็เป็นรายได้สำหรับคนบางกลุ่มที่กระทำผิดกฎหมายและเอารัดเอาเปรียบสังคม  ปัญหายาเสพติดทำให้รัฐบาลต้องทุ่มเทงบประมาณจำนวนมาก เพื่อใช้ในการป้องกัน ปราบปราม บำบัดรักษาและฟื้นฟู แทนที่จะนำไปใช้ในการด้านอื่นๆ ที่มีความจำเป็น ต้องสูญเสียทรัพยากรในการป้องกันและแก้ไขปัญหาโดยไม่จำเป็น รวมทั้งกระทบต่อทรัพยากรมนุษย์ เพราะยาเสพติดมีส่วนทำลายพัฒนาการทั้งด้านร่างกาย จิตใจ และสมองของเด็กและเยาวชน และแรงงานที่จะเป็นพลังของประเทศไทยในอนาคต

ผลกระทบต่อความมั่นคงและชื่อเสียงของประเทศ สาเหตุเนื่องจากปัญหายาเสพติดได้ส่งผลต่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจ สังคมและการเมือง ทั้งภายในและภายนอกประเทศ โดยเฉพาะความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับประเทศเพื่อบ้าน ซึ่งเป็นที่ตั้งของแหล่งผลิตยาเสพติด การแพร่ระบาดของยาเสพติด จะก่อให้เกิดความเสื่อมเสียชื่อเสียงและเกียรติภูมิของประเทศไทยไม่เป็นที่ไว้วางใจของนานาชาติในด้านความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ทำให้ไม่กล้าเข้ามาท่องเที่ยวหรือลงทุนทางการค้า และธุรกิจต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งทำให้ประเทศคู่แข่งฉวยโอกาสในการโจมตีประเทศไทย

มาตรการสำคัญในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด สิ่งแรกที่ควรให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง คือ บทบาทของสถาบันทางสังคมไทยในระดับรากหญ้า ซึ่งประกอบด้วย สถาบันครอบครัว สถาบันชุมชน สถาบันโรงเรียน และสถาบันศาสนา เพื่อเป็นการป้องกันและแก้ไขปัญหา

               ปัญหายาเสพติดเป็นปัญหาระดับชาติ ดังนั้นการป้องกัน และแก้ไขปัญหายาเสพติดจึงมิใช่หน้าที่ของใครคนใดคนหนึ่ง หรือองค์การใดองค์กรหนึ่ง แต่หากเป็นหน้าที่ของทุกคนในชาติที่จะต้องร่วมมือ ร่วมใจกันป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด โดยมีเป้าหมายร่วมกัน คือ การขจัดยาเสพติดให้หมดไปจากแผ่นดินไทยก่อนที่ชาติไทยจะตกเป็นทาสของ “ยาเสพติด”

                            

อ้างอิง http://www.oknation.net/blog/print.php?id=350940

สถานการณ์การเมืองในประเทศไทยปัจจุบัน

วิเคราะห์สถานการณ์การเมืองในประเทศไทยปัจจุบัน  


    จะกดดันให้เกิดการเมืองใหม่ หรือไม่อย่างไร
           ากสถานการณ์ทางการเมืองไทยในปัจจุบันได้เกิดปรากฏการณ์ต่างๆทางการเมืองมากมาย ที่สำคัญเกิดปรากฏการณ์ที่เรียกว่า การเมืองภาคประชาชน ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของรัฐธรรมนูญปี 2550 กลุ่มคนที่เป็นแกนนำในการแสดงออกซึ่งสิ่งที่เรียกว่า การเมืองภาคประชาชน ก็คือกลุ่มที่เรียกตัวเองว่า พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย  การรวมตัวกันชุมนุมซึ่งเป็นระยะเวลาอันยาวนาน เพื่อเรียกร้องสิ่งต่างๆที่กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยต้องการ  แต่สิ่งสำคัญที่พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยเรียกร้องนั้นคือสิ่งที่เรียกว่า “การเมืองใหม่”   เป็นแนวคิดที่กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ส่งออกมา เพื่อหาทางออกให้กับประเทศไทยไม่ให้กลับไปสู่ “การเมืองน้ำเน่า” การเมืองในปัจจุบันเป็นระบบการเมืองอุบาทว์ เพราะ ถูกผูกขาดโดยนักเลือกตั้งในพื้นที่เขตเลือกตั้งและนายทุน ที่ยังคงเต็มไปด้วยปัญหาการซื้อสิทธิ์ขายเสียง ทุจริตการเลือกตั้ง ใช้อิทธิพลและระบบอุปถัมภ์ในท้องถิ่น เพื่อข่มขู่ประชาชน อีกทั้งยังใช้อำนาจรัฐและอำนาจเงิน เพื่อให้ได้ชัยชนะในการเลือกตั้งทุกวิถีทางบนความอ่อนแอและฉ้อฉลของคณะกรรมการการเลือกตั้งบางคนที่ไม่สามารถทำให้การเลือกตั้งเป็นไปอย่างสุจริตเที่ยงธรรม เมื่อการเลือกตั้งเต็มไปด้วยการทุจริตฉ้อฉลและใช้เงินเป็นตัวตั้ง ทำให้การเมืองไทยกลายเป็น “ธนาธิปไตย” เกิดการตอบแทนบุญคุณต่อนายทุนของพรรคการเมือง รัฐบาลซึ่งประกอบไปด้วยพรรคการเมืองที่ฉ้อฉล จึงมุ่งแต่จะทุจริตคอร์รัปชั่น กระทำผิดต่อกฎหมายบ้านเมือง   ดังนั้น พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย จึงได้เรียกร้องการเมืองใหม่ เพื่อยุติปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้น เมื่อเค้าคิดว่าประชาธิปไตยกำลังเข้าสู่ทางตัน

อรรถาธิบาย

           สาระสำคัญของการเมืองใหม่มีดังต่อไปนี้
1. คณะรัฐมนตรีและสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และวุฒิสมาชิกไม่จำเป็นต้องมาจากการเลือกตั้งโดยตรงเท่านั้น เป้าหมายของการเมืองใหม่ก็คือได้คณะรัฐบาลและสมาชิกสภาที่มีวิสัยทัศน์ มีความรู้ มีความสามารถโดยไม่จำเป็นต้องจำกัดวุฒิการศึกษา มีเจตนาที่จะทำประโยชน์ให้แก่ส่วนรวมอย่างแท้จริง และจะต้องประกอบด้วยบุคคลหลายอาชีพ เพื่อให้สามารถเข้าถึงปัญหาต่างๆของคนไทยทั้งประเทศ ทั้งนี้วิธีในการที่จะได้มาซึ่งคณะรัฐมนตรีและสมาชิกสภารวมทั้งสัดส่วนนั้นจะต้องพิจารณาให้รอบคอบหลังจากล้างการเมืองระบบเลือกตัวแทนเพียงอย่างเดียวได้แล้ว และสัดส่วน ๗๐:๓๐ ที่มีการวิพากษ์วิจารณ์กันอย่างกว้างขวางในขณะนี้ไม่ใช่สาระสำคัญเพราะนั่นเป็นเพียงตัวอย่างที่นำมาแสดงให้ประชาชนเข้าใจว่า คณะรัฐมนตรีและสมาชิกสภาที่มาจากการเลือกตั้งเพียงอย่างเดียวนั้นนอกจากไม่ทำให้เกิดผลดีแล้วยังทำให้เกิดผลเสีย นอกจากนั้นวุฒิสมาชิกที่ได้มาจากการสรรหาทั้ง ๗๔ ท่านก็แสดงให้เห็นแล้วว่าเป็นวุฒิสมาชิกน้ำดีสามารถค้ำจุนการเมืองระบบรัฐสภา

2. เป็นการเมืองภาคประชาชน ประชาชนต้องมีสิทธิเพิ่มมากขึ้น เพื่อให้ตรงกับคำขวัญของประชาธิปไตยว่า “โดยประชาชน สำหรับประชาชน และเพื่อประชาชน”อย่างแท้จริง มิใช่มีส่วนร่วมกับประชาธิปไตยเพียงกากบาทในบัตรเลือกตั้งเท่านั้น ประชาชนจะต้องสามารถตรวจสอบ และคัดค้านการกระทำที่ไม่ถูกต้องของรัฐบาลและสภาได้ทันทีก่อนที่จะทำให้เกิดผลเสียกับประเทศ

3. การเมืองใหม่จะต้องเป็นการเมืองที่มีคุณธรรม จริยธรรม มีธรรมาภิบาล ไม่ใช่การเมืองที่แสวงหาแต่ผลประโยชน์

4.จะต้องใช้ระบบเศรษฐกิจพอเพียงเป็นนโยบายเศรษฐกิจของชาติอย่างเคร่งครัด

5.นโยบายของรัฐบาลจะต้องเป็นนโยบายที่มีประโยชน์และคุ้มค่า ต่อเนื่อง มิใช่เป็นความต้องการของนายกรัฐมนตรีเพียงคนเดียว โดยจะต้องทำตามแผนการพัฒนาชาติที่กำหนดโดยภาครัฐและเอกชนล่วงหน้า นโยบายของรัฐบาลในยุคการเมืองใหม่ จะต้องเป็นนโยบายที่ได้รับการกลั่นกรองจากคณะกรรมการที่ประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิทุกสาขา เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์แก่ประเทศไทยและคนไทยอย่างแท้จริง

6.การเมืองใหม่จะต้องให้ความสำคัญกับทุกๆ กระทรวง ไม่มีการแบ่งเป็นกระทรวงขนาดใหญ่มีงบประมาณมากหรือกระทรวงขนาดเล็กมีงบประมาณน้อย และจะต้องพัฒนาการทำงานร่วมกันให้มีประสิทธิภาพสูงสุด

7.การเมืองใหม่จะต้องไม่มีการแทรกแซงข้าราชการประจำ การโยกย้ายหรือแต่งตั้งข้าราชการในระดับสูง จะต้องมีกฎเกณฑ์แน่นอนที่สามารถเปิดเผยต่อสาธารณะ โดยใช้ระบบคณะกรรมการมากกว่าให้อำนาจแก่รัฐมนตรีเพียงผู้เดียว

8.การเมืองใหม่จะไม่มีการแทรกแซงอำนาจการบริหารรัฐวิสาหกิจด้วยการส่งนักการเมืองเข้าไปเป็นคณะกรรรมการบริหาร

9.การเมืองใหม่จะต้องยุติการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ และต้องนำรัฐวิสาหกิจที่แปรรูปไปแล้วกลับมาเป็นของประชาชนทั้งชาติเหมือนเดิม เพราะผลประโยชน์ของประเทศไทยจะต้องตกเป็นของคนไทยทุกคน

10.การเมืองใหม่จะต้องยุติการแปรรูปมหาวิทยาลัยของรัฐ แต่จะต้องใช้วิธีปรับปรุงระบบการบริหารเพื่อลดงบประมาณแผ่นดินแทน เช่นลดจำนวนคณะที่สอนซ้ำซ้อนกัน ตั้งเป็นศูนย์กลางแต่ละวิชาเพื่อลดค่าใช้จ่าย ทั้งนี้จะต้องมีเป้าหมายว่ามหาวิทยาลัยเป็นของลูกหลานไทยทุกคน ต้องสามารถเล่าเรียนโดยเสียค่าใช้จ่ายต่ำสุด รัฐมีหน้าที่ต้องพัฒนาคุณภาพทรัพยากรมนุษย์ด้วยการศึกษา การศึกษามิใช่การค้าดังนั้นจึงไม่ใช่สถานที่แสวงหาผลประโยชน์ของอาจารย์และสภามหาวิทยาลัย

ทฤษฎี

-บทบาทรัฐ (Role of the State) ของ Machiavelli รัฐมีอำนาจอธิปไตยสูงสุดที่จะจัดการกับปัญหาใด ๆ ทั้งในประเทศ และระหว่างประเทศ เพื่อปกป้องผลประโยชน์ของชาติ และประชาชน การที่เปลี่ยนระบอบการเมืองเป็นการเมืองใหม่นั้น สิ่งสำคัญที่จะต้องคำนึงถึงเป็นอันดับแรกก็คือ ผลประโยชน์ของประเทศชาติและประชาชนเป็นสำคัญ ถ้าเปลี่ยนแล้วจะต้องดีขึ้นกว่ารูปแบบเดิม

-ประชาธิปไตยที่ประกอบด้วยหลักการข้อหนึ่งคือ ความเสมอภาค ความมีเสรีภาพ นั้นแสดงถึงรัฐต้องเปิดโอกาสให้ประชาชนแสดงบทบาท  และความต้องการของตนได้อย่างเต็มที่โดยไม่มีการกัดกัน

 วิเคราะห์

จากสถานการณ์การเมืองในประเทศไทยปัจจุบัน จะกดดันให้เกิดการเมืองใหม่หรือไม่

ารเมืองใหม่ ( new politic ) ที่เราพูดกันอย่างกว้างขวางในขณะนี้ ไม่ใช่สิ่งใหม่ที่เราพึ่งค้นพบแต่อย่างใด หากแต่มีนักวิชาการได้ศึกษามานานแล้วแต่ไม่ได้รับความสนใจในวงกว้างสักเท่าไรในกระแประชาธิปไตยแบบตัวแทนเพราะเป็นแนวคิดกระแสรองแต่การที่วาทกรรม " การเมืองใหม่ " ได้รับความสนใจกันอย่างกว้างขวางในระยะหลังๆ เพราะประชาธิปไตยแบบตัวแทน(Representative democracy)ได้อ่อนแรงลงอย่างมาก การเมืองใหม่ ทำให้เราเห็นว่า การเมืองที่เราดำรงอยู่ในปัจจุบันมันเป็นของเก่า และของเก่ามันก็ไร้ประโยชน์ แต่ตรงนี้ยังไม่ใช่ประเด็นสำคัญที่สุด หากแต่สาระกลับดำรงอยู่ที่ วาทกรรมที่เราใช้ คือ การเมืองใหม่ (new politic ) เพราะเกิดคำถามขึ้นมากมาย โดยเฉพาะการพัฒนาประชาธิปไตยของไทยให้รอดพ้นจากวงจรอุบาทว์ของตัวแทนที่โสมมได้หรือไม่ ปัญหาต่างๆที่กำลังประทุขึ้นมามากมายจากระบอบการปกครองในรูปแบบประชาธิปไตยที่ ประชาชนเป็นผู้เลือกตั้งตัวแทนของตนเพื่อเข้าไปทำหน้าที่แทนตนในการจัดสรรทรัพยากรอันมีอยู่อย่างจำกัดให้เพียงพอกับความต้องการของประชาชนในประเทศชาติแต่การจัดสรรผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นเกิดแค่กับเพียงคนกลุ่มเดียวเท่านั้นที่มีอำนาจทางการเมือง เกิดการทุจริตฉ้อราษบังหลวง นำมาซึ่งการเรียกร้องการเมืองใหม่ ตามหลักการดังที่ได้กล่าวมาแล้ว การจะเกิดขึ้นของการเมืองใหม่ในประเทศไทยคงเป็นไปได้ยาก ตามความคิดของข้าพเจ้า เพราะระบอบการปกครองของไทยในรูปแบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขในลักษณะการเมืองแบบผ่านผู้แทนมาช้านาน ถึงแม้จะเกิดปัญหาขึ้นจากการซื้อสิทธิ์ขายเสียง แต่จะไปด่าหรือไปว่าใครได้เพราะว่าคนที่ทำหน้าที่เลือกตั้งหายไปไหนหมดแล้ว จะว่าไป ประชาธิปไตยของไทยมาไกลจนมี รัฐธรรมนูญ ฉบับประชาชน 2540 แล้ว หากไม่มีทหารลากรถถังออกมาทำการรัฐประหาร ฉีกรัฐธรรมนูญทิ้ง สิ่งที่ตามมาก็คือรัฐธรรมนูญฉบับปลายกระบอกปืน และทำให้ทหารใหญ่คับฟ้า ถ้าไม่เกิดเหตุการณ์เช่นนี้ ประชาธิปไตยของไทย จะก้าวหน้าไม่แพ้ ประเทศต่างๆแน่ ก็เพราะอย่างนี้ จึงเกิดการวิจารณ์ การเมืองใหม่ และพันธมิตรฯ ว่า ขัดต่อหลักประชาธิปไตย และเลวร้ายกว่าการรัฐประหารเสียอีก.... “ถึงแม้รัฐบาลจะมีข้อบกพร่องสูง  แต่มันจะยิ่งผิดและอันตรายยิ่งกว่า หากกลุ่มม็อบที่ยึดทำเนียบ ซึ่งมีลักษณะเผด็จการ สามารถล้มรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งของเสียงส่วนใหญ่ได้ ....”
 “แกนนำพันธมิตรฯ ไม่ใช่พวกเสรีนิยม หรือ นักประชาธิปไตย แต่คือกลุ่มนักธุรกิจ นายพล คนชั้นสูง ที่เป็นขวาจัด พวกเขาไม่ได้เรียกร้องการเลือกตั้งใหม่ ซึ่งพวกเขาก็ต้องพ่ายแพ้ แต่ต้องการ ระบอบการเมืองใหม่ ซึ่งแท้จริง คือ การกลับไปสู่ยุคเผด็จการ ที่มีระบบรัฐสภา จากการสรรหา และให้อำนาจกับทหารที่จะเข้ามามีบทบาท และจัดการเมื่อไรก็ได้” การเรียกร้องการเมืองใหม่ เป็นเพียงการเรียกร้องของกลุ่มคนเพียงกลุ่มเดียว ในประเทศ ในขณะเดียวกันก็มีการออกมาปฏิเสธการเมืองใหม่อย่างสินเชิงของกลุ่มคนบางกลุ่มเช่นเดียวกัน รวมถึงพลังเงียบหรือกลุ่มที่ยังไม่ได้ออกมาแสดงพลังอีกมากมาย ดังนั้นการเกิดขึ้นของการเมืองใหม่ในประเทศไทยคงเป็นไปได้ยาก

ข้อเสนอแนะ

การเมืองใหม่จะเกิดขึ้นหรือไม่นั้นก็ต้องมีการพิจารณาคิดให้รอบคอบหลาย ๆ มุม หลาย ๆ ด้าน ว่าการเมืองใหม่ มีหลักการอย่างไร วิธีที่ได้มาของผู้บริหารหรือตัวแทนของประชาชนอย่างชัดเจน และเป็นที่ยอมรับของประชาชนส่วนใหญ่ ควรระวังบางทีถ้าไม่รอบคอบการเมืองใหม่อาจเป็นตัวชนวนให้เกิดสิ่งเลวร้ายที่ไม่ได้คาดถึงได้ในอนาคต

อ้างอิงแหล่งที่มา www.Google.com  www.thai.school.net www.rssthai.com

วันพุธที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

ภูมิประเทศ ภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม

ประเทศไทยมีพื้นที่ประมาณ 513,115 ตารางกิโลเมตร มีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 50 ของโลกและเป็นอันดับที่ 3 ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รองจากประเทศอินโดนีเซีย (1,910,931 กม.2) และประเทศพม่า (676,578 กม.2) และมีขนาดใกล้เคียงกับประเทศสเปน (505,370 กม.2) มากที่สุด

ประเทศไทยมี]ลักษณะภูมิประเทศที่หลากหลาย ภาคเหนือเป็นพื้นที่ภูเขาสูงสลับซับซ้อน จุดที่สูงที่สุดในประเทศไทย คือ ดอยอินทนนท์ ณ 2,565 เมตรเหนือระดับน้ำทะเล[24] รวมทั้งยังปกคลุมด้วยป่าไม้อันเป็นต้นน้ำที่สำคัญของประเทศ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ของที่ราบสูงโคราช สภาพของดินค่อนข้างแห้งแล้งและไม่ค่อยเอื้อต่อการเพาะปลูก แม่น้ำเจ้าพระยาเกิดจากแม่น้ำปิงและยมที่ไหลมาบรรจบกันที่ปากน้ำโพ จังหวัดนครสวรรค์ ทำให้ภาคกลางกลายเป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำที่มีความอุดมสมบูรณ์ที่สุดในประเทศ และถือได้ว่าเป็นแหล่งปลูกข้าวที่สำคัญแห่งหนึ่งของโลก[25] ภาคใต้เป็นส่วนหนึ่งของคาบสมุทรไทย-มาเลย์[26] ขนาบด้วยทะเลทั้งสองด้าน มีจุดที่แคบลง ณ คอคอดกระ แล้วขยายใหญ่เป็นคาบสมุทรมลายู ส่วนภาคตะวันตกเป็นหุบเขาและแนวเทือกเขาซึ่งพาดตัวมาจากทางตะวันตกของภาคเหนือ

แม่น้ำเจ้าพระยาและแม่น้ำโขงถือเป็นแหล่งเกษตรกรรมที่สำคัญของประเทศไทย การผลิตของภาคอุตสาหกรรมการเกษตรจะต้องอาศัยผลผลิตที่เก็บเกี่ยวได้จากแม่น้ำทั้งสองและสาขาทั้งหลาย อ่าวไทยมีพื้นที่ประมาณ 320,000 ตารางกิโลเมตร รองรับน้ำซึ่งไหลมาจากแม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำแม่กลอง แม่น้ำบางปะกง และแม่น้ำตาปี ถือเป็นแหล่งดึงดูดนักท่องเที่ยว เนื่องจากน้ำตื้นใสตามแนวชายฝั่งของภาคใต้และคอคอดกระ นอกจากนี้ อ่าวไทยยังเป็นศูนย์กลางทางอุตสาหกรรมของประเทศ เพราะมีท่าเรือหลักที่สัตหีบ ถือได้ว่าเป็นประตูที่จะนำไปสู่ท่าเรืออื่น ๆ ในกรุงเทพมหานคร ภาคใต้มีสถานที่ท่องเที่ยวซึ่งดึงดูดนักท่องเที่ยวมาก นักท่องเที่ยวมักเดินทางมาเยือนเสมอ ตั้งแต่จังหวัดภูเก็ต จังหวัดกระบี่ จังหวัดระนอง จังหวัดพังงา จังหวัดตรัง และหมู่เกาะตามแนวชายฝั่งของทะเลอันดามัน
ภูมิอากาศของไทยเป็นแบบเขตร้อน หรือแบบสะวันนา มีอุณหภูมิเฉลี่ย 18-34 °C และมีปริมาณฝนตกเฉลี่ยตลอดปีกว่า 1,500 มิลลิเมตร สามารถแบ่งได้เป็น 3 ฤดูกาล: อากาศร้อนระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนเมษายนเป็นฤดูร้อน; ระหว่างเดือนพฤษภาคมถึงเดือนตุลาคม ประเทศได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้จากทะเลจีนใต้และพายุหมุนเขตร้อนเป็นฤดูฝน; ส่วนในเดือนพฤศจิกายนถึงกลางเดือนมีนาคม ประเทศได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือจากประเทศจีนเป็นฤดูหนาว[27] ส่วนภาคใต้มีสภาพอากาศแบบป่าดงดิบ ซึ่งมีอากาศร้อนชื้นตลอดทั้งปี จึงสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ฤดู คือ ฤดูฝนและร้อน โดยฝั่งทะเลตะวันออก ฤดูร้อนเริ่มตั้งแต่เดือนพฤษภาคมถึงเดือนกันยายน และฝั่งทะเลตะวันตก ฤดูร้อนเริ่มตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนถึงเดือนเมษายน[27]
ประเทศไทยมีความหลากหลายทางชีวภาพของทั้งพืชและสัตว์อยู่มาก อันเป็นรากฐานอันมั่นคงของการผลิตในภาคการเกษตร และประเทศไทยมีผลไม้เมืองร้อนหลากชนิด[25] พื้นที่ราว 29% ของประเทศไทยเป็นป่าไม้ รวมไปถึงพื้นที่ปลูกยางพาราและกิจกรรมปลูกป่าบางแห่ง[28] ประเทศไทยมีเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่ากว่า 50 แห่ง เขตห้ามล่าสัตว์ป่าอีก 56 แห่ง โดยพื้นที่ 12% ของประเทศเป็นอุทยานแห่งชาติ (ปัจจุบันมี 110 แห่ง[29]) และอีกเกือบ 20% เป็นเขตป่าสงวน[28] ประเทศไทยมีพืช 15,000 สปีชีส์ คิดเป็น 8% ของสปีชีส์พืชทั้งหมดบนโลก[30] ในประเทศไทย พบนก 982 ชนิด นอกจากนี้ ยังเป็นถิ่นที่อยู่ของสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก นก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม และสัตว์เลื้อยคลานกว่า 1,715 สปีชีส์ซึ่งมีการบันทึก[31]